สร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แบบตั้งโต๊ะ จากชุด Dustation Dev Kit

สร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แบบตั้งโต๊ะ จากชุด Dustation Dev Kit

เริ่มต้นเนื้อหา

สร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แบบตั้งโต๊ะ จากชุด Dustation Dev Kit

ในโปรเจคนี้เราจะทำการสร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศในสำนักงงานหรือบ้านพักอาศัย โดยออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด (3x7x10 ซม.) โดยใช้กล่องใส่แผงวงจร IMI-C27 ABS Plastic Project Box มาใส่ตัวบอร์ด Dustation Dev Kit V1.4 เนื่องจากเห็นว่ามีความเข้ากันได้อย่างลงตัว สามารถจัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดลงในกล่องได้พอดีโดยใช้การปรับแต่งเพียงเล็กน้อย สามารถวางไว้บนโต๊ะทำงานได้โดยไม่เกะกะ พร้อมแสดงผลการวัดที่ชัดเจนผ่านหน้าจอ OLED

คุณสมบัติของเครื่อง

  • แสดงค่าฝุ่น PM2.5, PM1.0, PM10
  • แสดงผลค่าอุณหภูมิ
  • แสดงผลค่าความชื้น
  • สามารถเชื่อมต่อ WiFi ที่บ้านหรือสำนักงาน
  • แสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์ได้

อุปกรณ์

Dustation Dev Kit V1.4 บอร์ดพัฒนาชุดวัดคุณภาพอากาศ X 1
ESP32 DEVKIT V1 / NodeMCU X 1
โมดูล PMS7003 Laser Dust Sensor วัดฝุ่น PM2.5 และคุณภาพอากาศ X 1
AM2302/DHT22 Digital เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ Capacitive X 1
กล่องใส่แผงวงจร IMI-C27 ABS Plastic Project Box X 1
Spacer ยึดบอร์ด ขนาด M3 พร้อมสกรู X 2
Spacer ยึดจอ ขนาด M2 พร้อมสกรู X 2
แผ่นตะแกรงพลาสติก 3.5x3.5 cm X 1

ซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้อง

Ready to use Dustation web monitoring & WiFi management system
Arduino IDE

ขั้นตอนการปฏิบัติ

เตรียมเครื่องมือ

  1. หัวแร้งและตะกั่วสำหรับบัดกรี
  2. สว่าน
  3. มีดคัตเตอร์
  4. คีมตัด
  5. สายไฟอ่อน 4 สี ความยาวเส้นละ 20 ซม.
  6. เทปกาว 2 หน้าแบบบาง
  7. ไขควงแฉก
  8. ตะไบ
  9. กระดาษทราย
  10. กาวเอนกประสงค์
  11. แผ่นฉนวนกันลัดวงจร 4×4 ซม.
  12. เทปพันสายไฟ
  13. สาย Micro USB 1 สำหรับ Flash โปรแกรมและจ่ายไฟเลี้ยง 1 เส้น

ออกแบบตัวเครื่อง

ในโปรเจคนี้เราเลือกใช้กล่องใส่แผงวงจร IMI-C27 ABS Plastic Project Box มาใส่ตัวบอร์ด Dustation Dev Kit V1.4 เนื่องจากมีความเข้ากันได้อย่างลงตัว สามารถจัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดลงในกล่องได้พอดีโดยใช้การปรับแต่งเพียงเล็กน้อย อีกทั้งตัวกล่องมีขนาดที่พอเหมาะกับการตั้งวางใช้งานบนโต๊ะโดยไม่เกะกะเกินไป ด้านล่างนี้คือภาพรวมของตัวเครื่องที่เราจะสร้างในโปรเจคนี้

ด้านหน้าเครื่อง มีช่องสำหรับดูจอ OLED

ด้านหน้าเครื่อง มีช่องสำหรับดูจอ OLED

ด้านหลังเครื่อง ด้านซ้ายมีช่องสำหรับระบายอากาศและความร้อนจาก Esp32 ด้านขวามีช่องสำหรับอากาศเข้า

ด้านหลังเครื่อง ด้านซ้ายมีช่องสำหรับระบายอากาศและความร้อนจาก Esp32 ด้านขวามีช่องสำหรับอากาศเข้า

ด้านข้างเครื่อง มีช่องสำหรับเสียบสาย micro USB

ด้านข้างเครื่อง มีช่องสำหรับเสียบสาย micro USB

ด้านในเครื่อง ติดจอ OLED ไว้ด้านในสุด ชั้นต่อมาเป็นตัวบอร์ด ชั้นบนสุดติดเซนเซอร์ DHT22 ไว้บนเซนเซอร์ PMS7003

ด้านในเครื่อง ติดจอ OLED ไว้ด้านในสุด ชั้นต่อมาเป็นตัวบอร์ด ชั้นบนสุดติดเซนเซอร์ DHT22 ไว้บนเซนเซอร์ PMS7003

จัดการฝากล่องด้านหน้า

1. ใช้สว่านเจาะรูและแต่งด้วยตะไบทั้งหมด 2 ช่องคือ

1.1 เจาะช่องสำหรับแสดง OLED ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป

1.2 เจาะช่องสำหรับเสียบสาย micro USB ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป

2. ใช้คัตเตอร์ตัด Spacer 3 ชิ้นดังนี้

2.1 Spacer สำหรับรองยึดบอร์ดยาว 0.5 cm จำนวน 2 ชิ้น

2.2 Spacer สำหรับรองยึด OLED ยาว 0.3 cm จำนวน 1 ชิ้น

3. ใช้คีมตัดสกรู ขนาด 2.5 mm และ 2 mm ให้เหลือความยาวตัวละประมาณ 4 mm

4. ใช้กาวติด Spacer ทั้ง 3 ชิ้น และติดโฟมรองจอ OLED ตามตำแหน่งดังรูป

จัดการฝากล่องด้านหลัง

1. ใช้สว่านเจาะรูและแต่งด้วยตะไบทั้งหมด 2 ช่องคือ

1.1 เจาะช่องอากาศเข้าและช่องระบายความร้อน ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป

1.2 ตัดแผ่นตะแกรงพลาสติกสำหรับปิดช่องอากาศเข้าและติดด้วยกาวให้แน่น เพื่อใช้ป้องกันแมลง

 

จัดการบอร์ดพัฒนา

1. ใช้ตะไบหรือกระดาษทรายแต่งบอร์ดด้านพื้นที่เซนเซอร์ PMS7003 ออกประมาณ 2-3 มม. ให้บอร์ดเหลือความยาว 10.3 ซม.

2. ลองวางบอร์ดลงในกล่องเพื่อหาตำแหน่งที่พอดีกับรู spacer และลองขันยึดตัวบอร์ดกับกล่อง

บัดกรีและติดตั้งอุปกรณ์

1. ใช้หัวแร้งบัดกรีเชื่อมสายเซนเซอร์ DHT22 และ OLED เข้ากับบอร์ดดังรูป

2. ใช้หัวแร้งบัดกรีเชื่อมจุด Pull-Up ที่บอร์ดดังรูป

3. เสียบเซนเซอร์ PMS7003 ลงตามตำแหน่งที่แสดงบนบอร์ด

ติดตั้งโปรแกรมและตั้งค่า WiFi

ในโปรเจคนี้เราจะใช้โปรแกรม Ready to use Dustation web monitoring & WiFi management system ซึ่งเป็น Opensource ที่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งใช้งานฟรี สามารถศึกษาวิธีการติดตั้งโดยละเอียดได้จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรม(ดูเว็บไซต์)

1. Flash โปรแกรมลง Esp32 และทดลองรันจะเห็นข้อมูลบนจอ OLED ดังรูป

2. สังเกตค่า PM1.0 PM2.5 PM10 และค่าอุณหภูมิ ความชื้น หากค่าขึ้นครบแสดงว่าติดตั้งเซนเซอร์และโปรแกรมถูกต้องสมบูรณ์

3. ตั้งค่าการเชื่อมต่อ WiFi ตามวิธีที่บอกไว้บนเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรม หากตั้งค่า WiFi สำเร็จจะเห็นข้อมูล RSSI (ความแรงสัญญาณ) และ IP Address บนหน้าจอ OLED

ติดตั้งบอร์ดและอุปกรณ์ลงกล่อง

1. ติดตั้งจอ OLED ลงกล่องยึดด้วยสกรูขนาด 2 mm 2ตัว ดังรูป

2. .รองจอ OLED ด้วยแผ่นฉนวนป้องกันการลัดวงจร แล้วติดตั้งบอร์ดลงกล่องยึดด้วยสกรูขนาด 2.5 mm 2ตัว ดังรูป

2. ติดกาว 2 หน้าแบบบางบนบอร์ดแล้วเสียบเซนเซอร์ PMS7003 ลงตามตำแหน่งที่แสดงบนบอร์ด

3. ติดกาว 2 หน้าแบบบางบนเซนเซอร์ PMS7003 แล้ววางเซนเซอร์ DHT22 ลงด้านบน พันเทปตรงขาของเซนเซอร์ป้องกันการลัดวงจร ดังรูป

4. ประกอบปิดฝากล่องด้านหลังด้วยสกรูที่มาพร้อมกล่อง ให้ช่องอากาศเข้าอยู่ตรงตำแหน่งเซนเซอร์ DHT22 และ PMS700

 

ทดลองใช้งาน

1. เสียบสาย micro USB เข้าตัวเครื่องและต่อแหล่งจ่ายไฟจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์หรืออะแดปเตอร์ขนาด 5VDC ทดลองใช้งานได้ทันที

2. สามารถเข้าดูข้อมูลจากเครื่องผ่านเว็บบราวเซอร์ด้วยโดเมน dst.local หรือ IP ที่แสดงบนจอ OLED

 

สรุปผล

เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 ที่สร้างขึ้นมานี้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ

  1. มีการแสดงค่า PM2.5 บนหน้าจอ OLED ได้ชัดเจน
  2. ขนาดกะทัดรัดเพียง 3x7x10 ซม.สามารถใช้วางบนโต๊ะทำงานไว้คอยสังเกตค่าฝุ่นได้ตามต้องการ
  3. สามารถเข้าดูข้อมูลจากเครื่องผ่านเว็บบราวเซอร์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือมือถือผ่านระบบเครือข่ายภายใน
  4. ช่องเสียบ micro USB ช่วยให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงโปรแกรม หรือกรณีต้องการใช้พลังงานจากพาวเวอร์แบงค์ก็สะดวกดีมาก

ข้อสังเกตและคำแนะนำ

  1. ตัวเซนเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 ที่ติดไว้บน PMS7003 และอยู่ภายในกล่องนั้นจะทำให้อุณหภูมิและความชื้นวัดได้ไม่ตรงกับอุณหภูมิความชื้นภายนอก หากต้องการความแม่นยำควรย้ายไปติดด้านนอกกล่องแต่ก็ต้องแลกกับความสวยงามแบบมินิมอลที่ต้องเสียไป
  2. ปุ่มสำหรับรีเซ็ตเพื่อตั้งค่า WiFi ใหม่จะอยู่ในกล่องต้องเปิดฝากล่องทุกครั้งหากต้องการตั้งค่า ควรติดตั้งปุ่มไว้ด้านนอกกล่องจะสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า

 

adminสร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แบบตั้งโต๊ะ จากชุด Dustation Dev Kit

Related Posts