เริ่มต้นเนื้อหา
สร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 แบบตั้งโต๊ะ จากชุด Dustation Dev Kit
ในโปรเจคนี้เราจะทำการสร้างเครื่องวัดฝุ่น PM2.5 เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพอากาศในสำนักงงานหรือบ้านพักอาศัย โดยออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด (3x7x10 ซม.) โดยใช้กล่องใส่แผงวงจร IMI-C27 ABS Plastic Project Box มาใส่ตัวบอร์ด Dustation Dev Kit V1.4 เนื่องจากเห็นว่ามีความเข้ากันได้อย่างลงตัว สามารถจัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดลงในกล่องได้พอดีโดยใช้การปรับแต่งเพียงเล็กน้อย สามารถวางไว้บนโต๊ะทำงานได้โดยไม่เกะกะ พร้อมแสดงผลการวัดที่ชัดเจนผ่านหน้าจอ OLED
คุณสมบัติของเครื่อง
- แสดงค่าฝุ่น PM2.5, PM1.0, PM10
- แสดงผลค่าอุณหภูมิ
- แสดงผลค่าความชื้น
- สามารถเชื่อมต่อ WiFi ที่บ้านหรือสำนักงาน
- แสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์ได้
อุปกรณ์
ซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้อง
Ready to use Dustation web monitoring & WiFi management system | |
Arduino IDE |
ขั้นตอนการปฏิบัติ
เตรียมเครื่องมือ
- หัวแร้งและตะกั่วสำหรับบัดกรี
- สว่าน
- มีดคัตเตอร์
- คีมตัด
- สายไฟอ่อน 4 สี ความยาวเส้นละ 20 ซม.
- เทปกาว 2 หน้าแบบบาง
- ไขควงแฉก
- ตะไบ
- กระดาษทราย
- กาวเอนกประสงค์
- แผ่นฉนวนกันลัดวงจร 4×4 ซม.
- เทปพันสายไฟ
- สาย Micro USB 1 สำหรับ Flash โปรแกรมและจ่ายไฟเลี้ยง 1 เส้น
ออกแบบตัวเครื่อง
ในโปรเจคนี้เราเลือกใช้กล่องใส่แผงวงจร IMI-C27 ABS Plastic Project Box มาใส่ตัวบอร์ด Dustation Dev Kit V1.4 เนื่องจากมีความเข้ากันได้อย่างลงตัว สามารถจัดวางอุปกรณ์ทั้งหมดลงในกล่องได้พอดีโดยใช้การปรับแต่งเพียงเล็กน้อย อีกทั้งตัวกล่องมีขนาดที่พอเหมาะกับการตั้งวางใช้งานบนโต๊ะโดยไม่เกะกะเกินไป ด้านล่างนี้คือภาพรวมของตัวเครื่องที่เราจะสร้างในโปรเจคนี้
จัดการฝากล่องด้านหน้า
1. ใช้สว่านเจาะรูและแต่งด้วยตะไบทั้งหมด 2 ช่องคือ
1.1 เจาะช่องสำหรับแสดง OLED ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป
1.2 เจาะช่องสำหรับเสียบสาย micro USB ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป
2. ใช้คัตเตอร์ตัด Spacer 3 ชิ้นดังนี้
2.1 Spacer สำหรับรองยึดบอร์ดยาว 0.5 cm จำนวน 2 ชิ้น
2.2 Spacer สำหรับรองยึด OLED ยาว 0.3 cm จำนวน 1 ชิ้น
3. ใช้คีมตัดสกรู ขนาด 2.5 mm และ 2 mm ให้เหลือความยาวตัวละประมาณ 4 mm
4. ใช้กาวติด Spacer ทั้ง 3 ชิ้น และติดโฟมรองจอ OLED ตามตำแหน่งดังรูป
จัดการฝากล่องด้านหลัง
1. ใช้สว่านเจาะรูและแต่งด้วยตะไบทั้งหมด 2 ช่องคือ
1.1 เจาะช่องอากาศเข้าและช่องระบายความร้อน ตามตำแหน่งและขนาดดังรูป
1.2 ตัดแผ่นตะแกรงพลาสติกสำหรับปิดช่องอากาศเข้าและติดด้วยกาวให้แน่น เพื่อใช้ป้องกันแมลง
จัดการบอร์ดพัฒนา
1. ใช้ตะไบหรือกระดาษทรายแต่งบอร์ดด้านพื้นที่เซนเซอร์ PMS7003 ออกประมาณ 2-3 มม. ให้บอร์ดเหลือความยาว 10.3 ซม.
2. ลองวางบอร์ดลงในกล่องเพื่อหาตำแหน่งที่พอดีกับรู spacer และลองขันยึดตัวบอร์ดกับกล่อง
บัดกรีและติดตั้งอุปกรณ์
1. ใช้หัวแร้งบัดกรีเชื่อมสายเซนเซอร์ DHT22 และ OLED เข้ากับบอร์ดดังรูป
2. ใช้หัวแร้งบัดกรีเชื่อมจุด Pull-Up ที่บอร์ดดังรูป
3. เสียบเซนเซอร์ PMS7003 ลงตามตำแหน่งที่แสดงบนบอร์ด
ติดตั้งโปรแกรมและตั้งค่า WiFi
ในโปรเจคนี้เราจะใช้โปรแกรม Ready to use Dustation web monitoring & WiFi management system ซึ่งเป็น Opensource ที่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งใช้งานฟรี สามารถศึกษาวิธีการติดตั้งโดยละเอียดได้จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรม(ดูเว็บไซต์)
1. Flash โปรแกรมลง Esp32 และทดลองรันจะเห็นข้อมูลบนจอ OLED ดังรูป
2. สังเกตค่า PM1.0 PM2.5 PM10 และค่าอุณหภูมิ ความชื้น หากค่าขึ้นครบแสดงว่าติดตั้งเซนเซอร์และโปรแกรมถูกต้องสมบูรณ์
3. ตั้งค่าการเชื่อมต่อ WiFi ตามวิธีที่บอกไว้บนเว็บไซต์ของผู้พัฒนาโปรแกรม หากตั้งค่า WiFi สำเร็จจะเห็นข้อมูล RSSI (ความแรงสัญญาณ) และ IP Address บนหน้าจอ OLED
ติดตั้งบอร์ดและอุปกรณ์ลงกล่อง
1. ติดตั้งจอ OLED ลงกล่องยึดด้วยสกรูขนาด 2 mm 2ตัว ดังรูป
2. .รองจอ OLED ด้วยแผ่นฉนวนป้องกันการลัดวงจร แล้วติดตั้งบอร์ดลงกล่องยึดด้วยสกรูขนาด 2.5 mm 2ตัว ดังรูป
2. ติดกาว 2 หน้าแบบบางบนบอร์ดแล้วเสียบเซนเซอร์ PMS7003 ลงตามตำแหน่งที่แสดงบนบอร์ด
3. ติดกาว 2 หน้าแบบบางบนเซนเซอร์ PMS7003 แล้ววางเซนเซอร์ DHT22 ลงด้านบน พันเทปตรงขาของเซนเซอร์ป้องกันการลัดวงจร ดังรูป
4. ประกอบปิดฝากล่องด้านหลังด้วยสกรูที่มาพร้อมกล่อง ให้ช่องอากาศเข้าอยู่ตรงตำแหน่งเซนเซอร์ DHT22 และ PMS700
ทดลองใช้งาน
1. เสียบสาย micro USB เข้าตัวเครื่องและต่อแหล่งจ่ายไฟจากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์หรืออะแดปเตอร์ขนาด 5VDC ทดลองใช้งานได้ทันที
2. สามารถเข้าดูข้อมูลจากเครื่องผ่านเว็บบราวเซอร์ด้วยโดเมน dst.local หรือ IP ที่แสดงบนจอ OLED
สรุปผล
เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 ที่สร้างขึ้นมานี้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ
- มีการแสดงค่า PM2.5 บนหน้าจอ OLED ได้ชัดเจน
- ขนาดกะทัดรัดเพียง 3x7x10 ซม.สามารถใช้วางบนโต๊ะทำงานไว้คอยสังเกตค่าฝุ่นได้ตามต้องการ
- สามารถเข้าดูข้อมูลจากเครื่องผ่านเว็บบราวเซอร์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือมือถือผ่านระบบเครือข่ายภายใน
- ช่องเสียบ micro USB ช่วยให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงโปรแกรม หรือกรณีต้องการใช้พลังงานจากพาวเวอร์แบงค์ก็สะดวกดีมาก
ข้อสังเกตและคำแนะนำ
- ตัวเซนเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 ที่ติดไว้บน PMS7003 และอยู่ภายในกล่องนั้นจะทำให้อุณหภูมิและความชื้นวัดได้ไม่ตรงกับอุณหภูมิความชื้นภายนอก หากต้องการความแม่นยำควรย้ายไปติดด้านนอกกล่องแต่ก็ต้องแลกกับความสวยงามแบบมินิมอลที่ต้องเสียไป
- ปุ่มสำหรับรีเซ็ตเพื่อตั้งค่า WiFi ใหม่จะอยู่ในกล่องต้องเปิดฝากล่องทุกครั้งหากต้องการตั้งค่า ควรติดตั้งปุ่มไว้ด้านนอกกล่องจะสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า