i-Mation Pico Dev Board บอร์ดพัฒนา ไอ-เมชั่น พิโก้

มีสินค้าอยู่ 10

มีสินค้าอยู่ 10

1 × Pico

มีสินค้าอยู่ 12

1 × Box

มีสินค้าอยู่ 60

มีสินค้าอยู่ 3

1 × i-Stack

มีสินค้าอยู่ 10

150.00 - 2,263.00

รหัสสินค้า: imi201022 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ: , , , , , , , , , , , ,

รายละเอียดสินค้า

คำอธิบาย

บอร์ดพัฒนา i-Mation Pico Dev Board

บอร์ดรีเลย์ 4 Channel สำหรับพัฒนางานอเนกประสงค์ สามารถใช้เพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ พัฒนาโครงการต้นแบบ และการประยุกต์เพื่อการใช้งานจริง มีความยืดหยุ่นสูง การออกแบบที่สนันสนุนให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการใช้งานได้ด้วยตนเอง มีพื้นที่สำหรับประกอบวงจรเพิ่มเติม และจุดต่อสกรูเทอร์มินอลสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก รองรับการใช้งาน ESP32-S3 Pico หรือ Raspberry Pi Pico W  สามารถเลือกใช้คอนโทรลเลอร์ได้ตามเหมาะสมและความถนัด การออกแบบให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงาน เพิ่มความปลอดภัย ลดความซับซ้อน ใช้งานง่าย มีความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

พร้อมโค้ดตัวอย่างการใช้งาน สำหรับแพลตฟอร์ม Arduino ด้วยโปรแกรม Arduino IDE แบ่งออกเป็นสองตัวอย่างสำหรับ ESP32-S3 Pico และสำหรับ Raspberry Pi Pico W

บอร์ดนี้เป็นบอร์ดพัฒนา ไม่ใช่บอร์ดสำเร็จรูป ดังนั้นในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เช่น หัวแร้ง ในการพัฒนา

 

 

รูปแบบการรับพลังงานที่มีให้เลือก

แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
i-Mation Pico Dev Board - AC 220 V / terminal blocks i-Mation Pico Dev Board - DC 9-24V / JACK 5.5x2.1mm. Positive Polarity
AC 220V / Terminal Blocks
รองรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ระดับแรงดัน 220V
ผ่านช่องต่อแบบ Terminal Blocks สำหรับการใช้งานกับไฟบ้าน
DC 9-24V / JACK 5.5×2.1mm (Positive Polarity)
รองรับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ระดับแรงดัน 9-24V
ผ่านพอร์ตแจ็คขนาด 5.5×2.1 มม. โดยกำหนดให้ขั้วบวกอยู่ที่กลางแจ็ค

 

 

 

รองรับการใช้งาน ESP32-S3 Pico หรือ Raspberry Pi Pico W

 

เลือกใช้คอนโทรลเลอร์ให้เหมาะกับโปรเจคของคุณ

คอลโทรลเลอร์ WiFi STA WiFi AP Inductive Load Non-Inductive Load Regulator
ESP32-S3 PICO – Waveshare ปกติ ปกติ ผ่าน ผ่าน Switching
ESP32-S3 PICO – n/a ปกติ n/a n/a ผ่าน Linear
Raspberry Pi Pico W ปกติ ปกติ ผ่าน ผ่าน Switching

ผ่าน = ผ่านการทดสอบต่อเนื่องมากกว่า 1000 ครั้ง โดยไม่พบการรีบูต หรืออาการผิดปกติอื่น

การใช้งานตามคุณสมบัติพื้นฐานของคอนโทรลเลอร์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง อาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบและการใช้งาน เนื้อหานี้เป็นเพียงคำแนะนำที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลในการตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโปรเจค เพื่อให้โปรเจคเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงตามความต้องการ

บทความแนะนำ:   เลือกคอนโทรลเลอร์อย่างไร? ให้เหมาะสมกับโปรเจค

 

คุณสมบัติ :

  1. รองรับการใช้งาน ESP32-S3 Pico หรือ Raspberry Pi Pico W
  2. รีเลย์คอนโทรลขนาด 10A จำนวน 4 ช่อง (ทำงานเมื่อลอจิกสูง)
  3. พื้นที่ประกอบวงจรอเนกประสงค์เพิ่มเติม
  4. สกรูเทอร์มินอลสำหรับต่ออุปกรณ์ภายนอก 15 จุด
  5. ปุ่มกดแบบพูลดาวน์จำนวน 2 ปุ่ม
  6. ปรับแต่งการควบคุมได้ทั้งหมด (แพดจั๊มเปอร์ใต้บอร์ดสำหรับปรับแต่งเส้นทางอินพุตเอ้าท์พุต)
  7. ระบบตรวจจับและสวิตซ์เลือกแหล่งจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ พร้อมไฟแสดงสถานะแหล่งจ่ายที่ใช้
  8. แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ(220VAC) และรองรับการปรับแต่งเพื่อใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
  9. โมดูลรีเลย์มีการแยกสัญญาณและแยกแหล่งจ่ายพลังงานพร้อมกรองการรบกวน

Specification :

  1. Supports ESP32-S3 Pico or Raspberry Pi Pico W
  2. 10A 4-channel SPDT relay control (active high)
  3. Additional multi-purpose circuit assembly space
  4. 15 channel screw terminal
  5. 2 custom push button switch (pull-down)
  6. All in our control (Jumper pads for adjusting input-output paths)
  7. i-nergy Guard (automatic detection & transfer switch) and dual indicator
  8. Alternating Current (220VAC) power source, customizable for Direct Current
  9. Power supply isolated with EMC compliance and Opto isolated in Relay system

 

 

Dimensions
Enclosure: Width: 125 mm, Height: 110 mm, Depth: 42 mm, Net weight: 88 g
Pico Dev Module Form Factor: 21 mm × 51 mm, Type: 20 pin × 2, Pin Pitch: 2.54 mm, Net weight: <7 g
i-Mation Dev Board : Width: 121.9 mm, Height: 86.9 mm, Depth: 21.9 mm, Net weight: DC: 97 g / AC: 123 g

 

 

 

 

บทความแนะนำ:   การเลือกใช้สาย USB สำหรับงานไมโครคอนโทรลเลอร์    |   ปัญหาการใช้งานแหล่งจ่ายพลังงานหลายแหล่งในระบบฝังตัว

i-nergy Guard | automatic detection and transfer switch

i-nergy Guard | automatic detection and transfer switch อิงตามแนวคิดการสลับแหล่งจ่ายไฟอัตโนมัติ (คล้ายกับ ATS) ซึ่งมีประโยชน์ในการลดปัญหา ป้องกัน และจัดการพลังงานในระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราประยุกต์ใช้ Power Path Management บน i-Mation Pico Dev Board เพื่อให้สามารถตรวจจับและเลือกแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสมได้ เมื่อมีการเชื่อมต่อ USB กับคอนโทรลเลอร์ i-nergy Guard จะตัดการจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายไฟ Power-in โดยอัตโนมัติทันที ช่วยลดความเสี่ยงจากการจ่ายไฟซ้ำซ้อนและรักษาการทำงานของวงจรให้ต่อเนื่องโดยไม่มีสะดุด

i-nergy Guard จะช่วยอะไรได้บ้าง?

  1. การตรวจจับแหล่งจ่ายไฟช่วยในการเลือกแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะสม เป็นไปอย่างอัตโนมัติ โดยตรวจจับการเชื่อมต่อ USB
  2. การสลับแหล่งจ่ายไฟช่วยให้การทำงานต่อเนื่องโดยไม่ต้องสลับแหล่งจ่ายไฟด้วยตัวเอง สลับแหล่งจ่ายรวดเร็วภายในช่วงนาโนวินาที (ns)
  3. การป้องกันความเสียหายช่วยจัดการปัญหาแหล่งจ่ายไฟที่ซ้ำซ้อน เป็นการจัดการพลังงานในระบบได้ดีขึ้น

    การพัฒนาระบบป้องกันนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหาการเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟซ้ำซ้อน อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังมีข้อดีเพิ่มเติมตามหลักการของ ATS โดยสามารถประยุกต์ใช้ในการเชื่อมต่อไฟสำรองเพื่อรองรับกรณีไฟฟ้าดับได้ (ควรใช้อะแดปเตอร์แหล่งจ่ายที่มีเอาท์พุตเป็น 5V เท่านั้น การใช้อะแดปเตอร์ที่จ่ายไฟมากกว่านี้ หรือ PD อาจมีความเสี่ยงทำให้คอนโทรลเลอร์พังและเกิดความเสียหายต่อวงจรทั้งหมด)

    Primary Power Source: ช่องแหล่งจ่าย USB จะถูกใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟหลัก
    Secondary Power Source: ช่องแหล่งจ่าย Power-in จะถูกสลับมาใช้เมื่อถอดการเชื่อมต่อ USB

    Dual Power LED Indicator
    LED คู่ที่แสดงสถานะว่าแหล่งจ่ายไฟช่องทางไหนถูกเชื่อมต่ออยู่ จะแสดงผลจริงตามการใช้งาน

     

    “ไม่ว่าคุณจะทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใด ความระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญเสมอ”

    [ ! ] ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้งานแหล่งจ่ายไฟ AC
    เพราะอาจมีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับไฟแรงสูงที่บริเวณบอร์ด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 

     

     

     

     


    โมดูลรีเลย์ใช้หลักการกัลวานิกไอโซเลชั่น
    แยกสัญญาณและแหล่งจ่ายพลังงานออกจากกัน

    Opto isolated and Power supply isolated with EMC compliance in Relay System

    โมดูลรีเลย์ที่ใช้แยกวงจรไฟฟ้าออกจากกันโดยไม่มีการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าระหว่างวงจรทั้งสอง ทำให้คอนโทรลเลอร์และโหลดถูกแยกออกจากกัน ลดความเสี่ยงจากพลังงานและยังมีการป้องกันการรบกวนด้วย EMC Compliance ช่วยให้การทำงานของระบบมีความเสถียรและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น …more

    ข้อดีของการแยกวงจรออกจากกัน :

    • ความปลอดภัยมากขึ้น (Safety): ลดความเสี่ยงแรงดันในฝั่งรีเลย์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยตรงกับส่วนคอลโทรลเลอร์ หรือส่วนที่ใช้อินเทอร์เฟซกับผู้ใช้งานโดยตรง
    • การลดสัญญาณรบกวน (Reducing Electromagnetic Interference : EMI ):
      ลดผลกระทบของสัญญาณรบกวนจากฝั่งรีเลย์ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคอลโทรลเลอร์
    • ความทนทานต่อความผิดพลาดมากขึ้น (Resilience to Faults):
      จำกัดการแพร่กระจายของความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ปัญหาในฝั่งรีเลย์รบกวนระบบทั้งหมด

    Galvanic Isolation เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว โดยเริ่มต้นใช้ในอุปกรณ์การแพทย์และโทรเลขการทหารเพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว และยังคงพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การแยกกัลวานิกไอโซเรชั่นอย่างสมบูรณ์นั้นมักจะพบในอุปกรณ์ระดับอุตสาหกรรม รถไฟฟ้า(EV) เทคโนโลยีนี้ได้พัฒนาอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในอนาคตอาจจะมีความสามารถที่มากขึ้นในขนาดที่เล็กลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีนี้ อุปกรณ์ทุกชนิดก็ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยได้ในทุกสภาพแวดล้อม การใช้งานเกินกว่าขีดจำกัดของอุปกรณ์ยังคงมีความเสี่ยงต่อความเสียหายหรืออันตราย แต่การนำหลักการนี้มาใช้จะช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับระบบได้มากยิ่งขึ้น

     

     

     

    รีเลย์คอนโทรล / Relay control

    LED ออกแบบให้มีความสว่างพอดีและไม่จ้าเกินไป โดยใช้การค่าตัวต้านทาน (R) ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมกระแสและความสว่าง การลดกระแสที่ไหลผ่านนี้ไม่เพียงทำให้ LED ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสบายตา แต่ยังช่วยยืดอายุการใช้งานด้วย

    รีเลย์ SRD-05-VDC-SL-C ของ Songle เป็นที่รู้จักกันดีในวงการอิเล็กทรอนิกส์ รองรับกระแสสูงสุดถึง 10 แอมป์ ทำงานแบบ Active High ทั้งหมด 4 ช่อง (4 Channels) โดยมีการเชื่อมต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว และสามารถกำหนดพินใหม่ได้ตามต้องการ  นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติของชั้นทองแดงจำนวน 2 ชั้น ที่เชื่อมต่อระหว่างขาของรีเลย์ถึงสกรูเทอร์มินอลให้กว้างขึ้นถึง 3.2 มิลลิเมตร ชั้นทองแดงที่กว้างขึ้นจะมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำลง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลของกระแสไฟฟ้าและลดความร้อน

    การเชื่อมต่อรีเลย์

    • รีเลย์ตัวที่ 1 (CH1): เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 14 (ESP32-S3 Pico: GPIO35, Raspberry Pi Pico W: GPIO10)
    • รีเลย์ตัวที่ 2 (CH2): เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 15 (ESP32-S3 Pico: GPIO36, Raspberry Pi Pico W: GPIO11)
    • รีเลย์ตัวที่ 3 (CH3): เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 16 (ESP32-S3 Pico: GPIO37, Raspberry Pi Pico W: GPIO12)
    • รีเลย์ตัวที่ 4 (CH4): เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 17 (ESP32-S3 Pico: GPIO38, Raspberry Pi Pico W: GPIO13)

     

    การต่อใช้งานรีเลย์
    รูปแบบโหลดที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง

    จุดเชื่อมต่อรีเลย์

    Common (COM) : ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อร่วมที่ใช้ในทุกสถานการณ์
    Normal Open (NO) : ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการให้ทำงานเมื่อรีเลย์ทำงาน (Active)
    Normal Close (NC) : ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการให้ทำงานเมื่อรีเลย์ไม่ทำงาน (Inactive)

     

    Caution:

    Be careful high voltages.
    โปรดระมัดระวังการสัมผัสตัวบอร์ดเมื่อต่อใช้งานรีเลย์กับแหล่งจ่ายไฟแรงดันที่สูง

     

     

     

     

     

     

    ปุ่มกด / Push Button

    ปุ่มกด แบบพูลดาวน์ (Pull-Down) จำนวน 2 ปุ่ม โดยมีการเชื่อมต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว และสามารถกำหนดพินใหม่ได้ตามต้องการ

    การเชื่อมต่อปุ่มกด

    Push Button ตัวที่ 1 (SW1) : เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 4  (ESP32-S3 Pico : GPIO13 , Raspberry Pi Pico W : GPIO2)
    Push Button ตัวที่ 2 (SW2) : เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 5  (ESP32-S3 Pico : GPIO14 , Raspberry Pi Pico W : GPIO3)

     

     

     

     

    พื้นที่สำหรับประกอบวงจรเพิ่มเติม / Prototyping Area

    • ระยะห่างระหว่างจุดเชื่อมต่อมาตฐาน 2.54 มิลลิเมตร
    • Perfboard Area บอร์ดมีหมุดสำหรับการเชื่อมต่อ (through-hole) จำนวนมาก ซึ่งสามารถใช้ในการติดตั้งและเชื่อมต่อกับส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไอซี, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ ฯลฯ
    • Stripboard Area บอร์ดมีเส้นเชื่อมสองหมุด (2-hole joining strip) อีกทางเลือกที่สะดวกสำหรับการใช้งาน
    • จุดเชื่อมต่อแหล่งจ่ายพลังงาน   VSYS , 3.3V, Ground
      (VSYS: โดยทั่วไปสามารถทดแทน 5V ได้ แต่ควรตรวจสอบความต้องการของอุปกรณ์และความเสถียรก่อน)

     

    สกรูเทอร์มินอล

    สกรูเทอร์มินอลทำจากวัสดุฉนวน Polybutylene Terephthalate (PBT) คุณภาพสูง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า ทนต่อความร้อนและสารเคมี โดยมีมาตรฐานการติดไฟระดับ UL94V-0 วัสดุตัวนำไฟฟ้าทำจากทองแดงผสม (Copper alloy) และมีการเคลือบผิวด้วยดีบุก (Tin Plated) ระยะห่างขาของสกรูเทอร์มินอลคือ 5 มิลลิเมตร มีทั้งหมด 15 จุด ซึ่งไม่มีการเชื่อมต่อใดๆ และสามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ตามความต้องการ

     

     

     

     

     

    ขาอ้างอิง / Reference Pin

    แผนผังแสดงถึงความสัมพันธ์ของ เลขขา (Pin Number) ที่ใช้อ้างอิงถึง GPIO (General Purpose Input/Output) ขาอินพุต/เอาต์พุตอเนกประสงค์ของบอร์ด ESP32-S3 Pico และ Raspberry Pi Pico W

    มีการระบุการอ้างอิงถึงขาของ รีเลย์ (Relay) และ Push button (BTN) ที่มีการกำหนดเป็นพินเริ่มต้น สำหรับการเชื่อมต่อ ไว้ล่วงหน้าแล้ว

    นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงของ i-Console (หากมีการใช้งาน)  ระบุถึงความสัมพันธ์ของ จอ OLED, บัซเซอร์ (BUZZER), RS-485, i/o

    (คลิกที่รูปภาพเพื่อเปิดภาพขนาดใหญ่ในแท็บใหม่)

    สามารถศึกษารายละเอียดการใช้งานของคอลโทรลเลอร์แต่ละแบบได้จากลิงค์นี้
    ESP32-S3 PICO – Waveshare    |     ESP32-S3 PICO – n/a    |    Raspberry Pi Pico W

    นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับคอนโทรลเลอร์ตระกูล Pico เช่น Raspberry Pi Pico 2, ESP32-C6-Pico หรือรุ่นใหม่ที่อาจเปิดตัวในอนาคตได้ หากมีมาตรฐานการจัดเรียงพิน (VBUS, VSYS, 3V3, GND) และ RUN ตรงกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นตอบโจทย์ในแต่ละด้านของการพัฒนาและความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    บทความแนะนำ:  GPIO Matrix และ IO MUX: มาตรฐานในไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นใหม่

     

     

     

    i-Console

    Adapter Interface Module  ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับ i-Mation Pico Dev Board ได้อย่างลงตัว สำหรับการติดตั้งเสริมด้วยตัวเอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการแสดงผลและการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้อย่างสะดวกสบาย

    ตัวโมดูลมาพร้อมดีไซน์ที่ทันสมัยและรูปทรงล้ำยุคแต่ยังคงความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติมได้จริง ภายในประกอบด้วยโมดูลย่อยที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้กับทั้ง ESP32-S3 Pico และ Raspberry Pi Pico W ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายและยืดหยุ่น เหมาะสำหรับผู้พัฒนาที่ต้องการสร้างโซลูชันที่ครบวงจรและประสิทธิภาพสูง

    1. โมดูล OLED SSD1306 IIC 0.96″ …เรียนรู้เพิ่มเติม
         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 6 : SDA (ESP32-S3 Pico : GPIO15 , Raspberry Pi Pico W : GPIO4)
         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 7 : SCL (ESP32-S3 Pico : GPIO16 , Raspberry Pi Pico W : GPIO5)

    2. โมดูล RS-485 Auto Direction Control พอร์ตเดียวที่สามารถต่อเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ได้มากถึง 32 ตัว …เรียนรู้เพิ่มเติม
         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 11 : TX (ESP32-S3 Pico : GPIO33 , Raspberry Pi Pico W : GPIO8)
         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 12 : RX (ESP32-S3 Pico : GPIO34 , Raspberry Pi Pico W : GPIO9)

    3. Passive Buzzer ปรับแต่งโทนเสียงเตือนได้ตามต้องการ …เรียนรู้เพิ่มเติม
         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 9 (ESP32-S3 Pico : GPIO17 , Raspberry Pi Pico W : GPIO6)

    4. จุดเชื่อมต่อ I/O, VSYS, GND

         VSYS: พินสำหรับแรงดันไฟฟ้าของระบบ / โดยทั่วไปสามารถทดแทน 5V ได้ แต่ควรตรวจสอบความต้องการของอุปกรณ์และความเสถียรก่อน

         เชื่อมต่อกับ Pin Ref. 10 :  PWM / DIO (ESP32-S3 Pico : GPIO18, Raspberry Pi Pico W : GPIO7)
         สำหรับเชื่อมต่อ PWM หรือ DIO กับอุปกรณ์ภายนอกผ่านสกรูเทอร์มินอล

         หมายเหตุ: การใช้งาน ADC
          บนขา P10 / GPIO18 เป็น ADC2_CH7 ซึ่งจะขัดแย้งกับฟังก์ชัน Receive data ของ UART1 หากใช้สำหรับฟังก์ชันเหล่านี้พร้อมกัน โปรดพิจารณาการใช้งาน Restrictions for GPIOs and RTC_GPIOs

    อุปกรณ์สำหรับการติดตั้งเพิ่มด้วยตนเอง ในชุดประกอบด้วย
    1. male Pin Header 4×2 จำนวน 1 ชิ้น
    2. Female Pin Header 4×2 จำนวน 1 ชิ้น
    3. male Pin Header 5×1 จำนวน 2 ชิ้น
    4. Female Pin Header 5×1 จำนวน 4 ชิ้น
    5. Spacer standoff nylon lcf-9 m3 จำนวน 1 ชิ้น

    หมายเหตุ : สินค้าจริง OLED จะยังไม่พร้อมใช้งานในทันที ไม่ได้บัดกรีไว้ล่วงหน้า สามารถเลือกบัดใช้ตามลักษณะการใช้งานที่ต้องการ

    ภาพตัวอย่างหลังการติดตั้ง

     

     

     

    i-Stack

    i-Mation Pico Dev Board เหมาะสำหรับพัฒนางานอเนกประสงค์ สามารถใช้เพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ พัฒนาโครงการต้นแบบ และการประยุกต์เพื่อการใช้งานจริง

    นอกจากนี้เรายังมีส่วนของ i-Stack ซึ่งเป็น Prototyping Section บอร์ดที่มีพื้นที่สำหรับใช้ประกอบวงจรเพิ่มเติม ออกแบบมาเพื่อวางซ้อนอยู่บนพื้นที่ประกอบวงจรของบอร์ด i-Mation Pico Dev Board จึงเข้ากันได้อย่างลงตัว สำหรับเพิ่มพื้นที่ประกอบวงจรที่มากขึ้น ให้ความสะดวก และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ในการต่อยอดวงจรเฉพาะเพิ่มเติม มีคุณสมบัติและรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้:

    คุณสมบัติของ i-Stack

    1. ขนาดและรูปทรง
      • i-Stack มีขนาดเล็กและรูปทรงที่เข้ากันได้กับ i-Mation Pico Dev Board มีการออกแบบที่สอดคล้องกับการใช้งานทั่วไปในโปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์
    2. พื้นที่สำหรับเชื่อมต่อ
      • ระยะห่างระหว่างจุดเชื่อมต่อมาตฐาน 2.54 มิลลิเมตร
      • Perfboard Area บอร์ดมีหมุดสำหรับการเชื่อมต่อ (through-hole) จำนวนมาก ซึ่งสามารถใช้ในการติดตั้งและเชื่อมต่อกับส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไอซี, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ ฯลฯ
      • Stripboard Area บอร์ดมีเส้นเชื่อมสองหมุด (2-hole joining strip) อีกทางเลือกที่สะดวกสำหรับการใช้งาน
    3. พินเชื่อมต่อ (Pin Headers)
      • มีพินเชื่อมต่อที่ชัดเจนและง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งพินเชื่อมต่อนี้รวมถึง:
        • VSYS: พินสำหรับแรงดันไฟฟ้าของระบบ / โดยทั่วไปสามารถทดแทน 5V ได้ แต่ควรตรวจสอบความต้องการของอุปกรณ์และความเสถียรก่อน
        • GND: พินสำหรับกราวด์
        • P6, P7, P9, P10, P11 และ P12: พินสำหรับสัญญาณ DIO / PWM / IIC / UART
        • คำแนะนำในการใช้งาน ADC
          – การใช้งาน ADC แนะนำให้เชื่อมต่อ ADC1 โดยใช้สายเชื่อมต่อขาที่ expand จากคอลโทรลเลอร์โดยตรง
          – การใช้งาน ADC2 กับขา P6, P7, P9 และ P10
          ขา P6 / GPIO15 เป็น ADC2_CH4 ซึ่งจะขัดแย้งกับฟังก์ชัน Request to send ของ UART0
          ขา P7 / GPIO16 เป็น ADC2_CH5 ซึ่งจะขัดแย้งกับฟังก์ชัน Clear to send ของ UART0
          ขา P9 / GPIO17 เป็น ADC2_CH6 ซึ่งจะขัดแย้งกับฟังก์ชัน Transmit data ของ UART1
          ขา P10 / GPIO18 เป็น ADC2_CH7 ซึ่งจะขัดแย้งกับฟังก์ชัน Receive data ของ UART1
            หากใช้สำหรับฟังก์ชันเหล่านี้พร้อมกัน โปรดพิจารณาการใช้งาน Restrictions for GPIOs and RTC_GPIOs
      • มีพินเชื่อมต่อไปยัง Terminal Block หรือ Screw Terminal
        เมื่อประกอบและติดตั้งแล้ว พินว่าง (หมายเลข 1-9) บน i-Stack จะเชื่อมต่อไปยัง Terminal Block (หมายเลข 1-9) บน i-Mation ดังภาพ
    4. การออกแบบที่ใช้งานง่าย
      • มีการออกแบบที่ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทำให้เหมาะสมสำหรับนักพัฒนาและผู้ที่สนใจในการทำโปรเจกต์ DIY (Do It Yourself)
    5. ความทนทานและคุณภาพสูง
      • PCB ทำจากวัสดุที่มีคุณภาพสูง มีความทนทานต่อการใช้งานและการบัดกรี

    การใช้งาน i-Stack

    i-Stack เหมาะสำหรับการพัฒนาโปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ขนาดเล็กไปจนถึงโปรเจกต์ที่มีความซับซ้อน เช่น:

    • การสร้างวงจรทดลอง
    • การพัฒนาอุปกรณ์ IoT (Internet of Things)
    • การศึกษาและวิจัยในด้านอิเล็กทรอนิกส์
    • การพัฒนาอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติขนาดเล็ก

    i-Stack เป็นแผงวงจรพิมพ์ที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้กับ i-Mation Pico Dev Board และเหมาะสมสำหรับการประยุกค์ใช้ต่อยอดโปรเจกต์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้  และเมื่อต้องการเปลี่ยนไปเป็นวงจรใหม่ๆ ยังสามารถถอด และวาง i-Stack ตัวใหม่ลงไปอย่างง่ายดาย

    อุปกรณ์สำหรับการประกอบและติดตั้งเพิ่มด้วยตนเอง
    1. i-stack จำนวน 1 ชิ้น
    2. Male Pin Header 4×2 จำนวน 1 ชิ้น
    3. Female Pin Header 4×2 จำนวน 1 ชิ้น
    4. male Pin Header 5×1 จำนวน 3 ชิ้น
    5. Female Pin Header 5×1 จำนวน 3 ชิ้น
    6. Spacer standoff nylon lcf-9 m3 จำนวน 1 ชิ้น

    ภาพประกอบเพิ่มให้ลูกค้าเห็นภาพการใช้งานเท่านั้น

    ลากเมาส์บน i-Mation เพื่อระบุตำแหน่งที่แม่นยำบน i-Stack

    Image

    (แสดงผลและตอบสนองได้ดีบนเบราว์เซอร์เวอร์ชันเดสก์ท็อป / interact and layout displays well on desktop browser versions)

    การจัดวางและติดตั้งส่วนประกอบบนแผงวงจรเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดการทำงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกเหนือจากสัญลักษณ์และเส้นแบ่งต่างๆบนบอร์ด เราได้ออกเราได้ออกแบบเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของบอร์ด i-Mation และ i-Stack เพื่อใช้ประกอบการใช้งาน

    เมื่อเราใช้มาส์ลากไปวางบน PCB ของ i-Mation (ตรงจุดตัดของเส้นสีแดงแนวตั้งกับเส้นสีแดงแนวนอน) เราจะพบว่ามีการระบุตำแหน่งที่แม่นยำบน PCB ของ i-Stack (ที่จุดตัดของเส้นสีแดงกับเส้นสีน้ำเงิน)

    เครื่องมือนี้ทำให้สามารถมองเห็นตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและง่ายดาย ใช้ประกอบการวางแผนและตรวจสอบความถูกต้องในการสร้างวงจรประยุกต์ตามความต้องการได้อย่างแม่นย่ำ

     

     

     

     

     

    สนับสนุนไฟล์ .DXF สำหรับนักพัฒนา
    เพื่อใช้งานร่วมกับ i-Mation Pico Dev Board

    i-Mation Pico Dev Board เหมาะสำหรับพัฒนางานอเนกประสงค์ สามารถใช้เพื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ พัฒนาโครงการต้นแบบ และการประยุกต์เพื่อการใช้งานจริง

    นอกจากนี้ยังมีส่วนของ “Prototyping Area” หรือ “Prototyping Section” เราใช้ชื่อส่วนนี้ว่า i-Proto เป็นบอร์ดขยายพื้นที่ ที่ใช้ในการประกอบวงจรขนาดเล็กเพิ่มเติม วางซ้อนอยู่บนพื้นที่ประกอบวงจรของบอร์ดหลัก i-Mation Pico Dev Board ที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ประกอบวงจรที่มากขึ้น และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ในการต่อยอดวงจรเฉพาะเพิ่มเติม

    การออกแบบและพัฒนาแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board : PCB) เป็นส่วนสำคัญของการสร้างชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ, ไฟล์ .DXF (Drawing Exchange Format) เป็นไฟล์แบบโอเพนซอร์สโดยสมบูรณ์ หนึ่งในรูปแบบไฟล์ที่สำคัญที่ใช้ในการออกแบบ PCB ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมวิศวกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือและโปรแกรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและลดความซับซ้อนในการแปลงข้อมูลระหว่างแพลตฟอร์ม

    นักพัฒนาสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่รองรับการนำเข้าไฟล์ .DXF สำหรับการออกแบบ PCB ที่ถนัด เพื่อออกแบบ และสร้างวงจรพิมพ์ที่ซับซ้อนในแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยข้ามข้อกังวลในเรื่อง ขนาดที่ซับซ้อนของ outline board, ตำแหน่งของ through-hole ต่างๆ ไปได้เลย

    เราเห็นความสำคัญ การสนับสนุนไฟล์ .DXF ของ i-Proto เพื่อใช้งานร่วมกับ i-Mation Pico Dev Board เป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซึ่งจะช่วยให้การออกแบบวงจรเฉพาะเป็นไปอย่างรวดเร็วและเข้าถึงตำแหน่งต่างๆได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น


     

     

     

     

    Image 1
    Image 2
    Image 3

    คู่มือการใช้งาน

     

    Imation Logo

    หากการกำหนดเส้นทาง Pin ล่วงหน้าเป็นข้อจำกัด ผู้ใช้สามารถปรับแต่งและกำหนดเส้นทาง Pin
    ได้ด้วยตนเองอย่างเต็มที่ เพื่ออิสระและประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

     

    ปรับแต่งการควบคุมได้ทั้งหมด

    สามารถควบคุมและปรับแต่งการเชื่อมต่อช่องสัญญาณปุ่มและรีเลย์ได้อย่างอิสระ ทั้งการตัดต่อจุดบัดกรี (Remove Solder) การใช้ Jumper กำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อ รวมถึงการต่อสายไฟไปยัง GPIO ที่ต้องการ การปรับแต่งและการกำหนดเส้นทางนี้มอบอิสระและความยืดหยุ่นในการใช้งานอุปกรณ์ตามความต้องการเฉพาะตัว

     

     

     

    ข้อมูลสนับสนุนทางเทคนิค

     

    ในเนื้อหานี้เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุดจัมเปอร์ที่ง่ายต่อการปรับแต่งบนแผงวงจร เพื่อช่วยลดการเดินสายไฟและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อ ซึ่งในบอร์ดจะมีจุดจัมเปอร์อยู่หลายจุดและสามารถสังเกตได้ตามลักษณะดัง

     

    จุดจัมเปอร์:

    1. J – Px:
      • เป็นจุดจัมเปอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อไปยังพิน x
      • ตัวอย่าง: J – P14, J – P15, J – P16, J – P17
    2. J – GND:
      • เป็นจุดจัมเปอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อไปยังกราวด์ (Ground)
    3. J – VSYS:
      • เป็นจุดจัมเปอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อไปยังระบบแรงดันไฟฟ้า (VSYS)

     

    (ผู้ใช้งานตามการตั้งค่าพินจากโรงงานสามารถข้ามเนื้อหาขั้นตอนนี้ไปอ่านต่อที่หัวข้อ “การปรับแต่ง Terminal Screw หรือ Terminal Block” ได้เลยครับ)

     

    ลักษณะและการใช้งานของแต่ละจุดจัมเปอร์:

    1. Jumper Pad (solder):
      • เป็นจุดจัมเปอร์ (รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางชิดกันสองแผ่น ในกรอบ) ที่มีการเชื่อมต่อล่วงหน้าแล้ว
      • จะมีเครื่องหมาย ” connect ” กำกับเพื่อระบุว่ามีการเชื่อมต่อล่วงหน้าจากโรงงานแล้ว
      • การใช้งาน: การใช้งานพินที่แนะนำไม่จำเป็นต้องบัดกรีเพิ่มเติม, สามารถเลือกเชื่อมต่อหรือยกเลิก ด้วยการบัดกรีเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ
      • ในภาพขยายจะแสดงถึงจุดจัมเปอร์ก่อนที่มีการบัดกรี
    2. Jumper Pad (non solder):
      • เป็นจุดจัมเปอร์ (รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางชิดกันสองแผ่น ในกรอบ) ที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อใดๆ
      • การใช้งาน: สามารถเลือกเชื่อมต่อหรือยกเลิก ด้วยการบัดกรีเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ
    3. Square Pad:
      • เป็นจุดเชื่อมต่อ (รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส) ใช้เชื่อมต่อโมดูลไปยังพินของคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการแบบกำหนดเอง
      • การใช้งาน: บัดกรีเพื่อสร้างการเชื่อมต่อใหม่หรือปรับแต่งวงจรตามความต้องการ

     

     

    การปรับแต่งช่องสัญญาณรีเลย์

     

    ภาพนี้เป็นคู่มือในการปรับแต่งช่องสัญญาณรีเลย์ (Relay) ของอุปกรณ์ 4Channel Relay Active High โดยมีการอธิบายขั้นตอนการปรับแต่ง ดังนี้:

    1. การปรับแต่งช่องสัญญาณรีเลย์:
      • การเชื่อมต่อรีเลย์จากผู้ผลิตสามารถตัดการเชื่อมต่อและกำหนดใหม่ได้ ถ้าต้องการ
      • โดยการใช้หัวแร้งให้ความร้อนเล็กน้อยปาดเบาๆที่จุดจัมป์เปอร์ (Jumper) เพื่อทำการ Remove หรือตัดการเชื่อมต่อออก
    2. การใช้สายไฟในการเชื่อมต่อ:
      • เมื่อทำการ Remove จุดจัมป์เปอร์แล้ว ให้ใช้สายไฟเชื่อมต่อระหว่าง PIN ของคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการเข้ากับ Square Pad ที่อยู่ติดกับทางขวาของช่องรีเลย์ (CHx)
      • Square Pad จะมีช่องระบุของรีเลย์ไว้ (CH1, CH2, CH3, CH4)
    3. รายละเอียดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ GPIO:
      • ใช้สายไฟเชื่อมต่อไปยัง GPIO ของคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการ

    คำแนะนำการเชื่อมต่อ:

    • Jumper:
      • J-P14, J-P15, J-P16, J-P17 คือจุดเชื่อมต่อ Jumper สำหรับรีเลย์ช่อง 1 ถึง 4 ตามลำดับ
      • เพื่อให้ใช้งานรีเลย์ได้ ควรทำการ Remove Solder ที่จุดเหล่านี้และเชื่อมต่อสายไฟแทน
    • Square Pad GPIO Connection:
      • เชื่อมต่อสายไฟจากจุดเชื่อมต่อ Square Pad (CH1, CH2, CH3, CH4) ที่ต้องการไปยัง GPIO ของคอนโทรลเลอร์ที่ใช้งาน

    โดยสรุปคือการทำการปรับแต่งรีเลย์บนแผงวงจรเพื่อเชื่อมต่อกับ GPIO ตามที่ต้องการ โดยการ Remove Solder และเชื่อมต่อสายไฟระหว่าง PIN ของคอนโทรลเลอร์กับ Square Pad ของรีเลย์ช่องที่ต้องการปรับแต่ง

     

    ตัวอย่างการปรับแต่งรีเลย์ CH1

    ภาพนี้เป็นตัวอย่างการปรับแต่งรีเลย์ CH1
    การยกเลิกเชื่อมต่อ Pin14 ออกจากรีเลย์ CH1 และกำหนดเส้นทาง Pin ใหม่
    1. โดยใช้ความร้อนจากหัวแร้งเพียงเล็กน้อยปาดเบาๆจะสามารถ Remove ตะกั่วที่ใช้จั๊มเปอร์ตำแหน่ง J-P14 ให้การเชื่อมต่อแยกออกจากกัน
    2. ใช้สายไฟ 1 เส้น เพื่อเชื่อมต่อ Square Pad รีเลย์ CH1 ไปยัง i/o Pin ของคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการ
    3. ในตัวอย่างนี้ยกตัวการใช้สาย(สีเขียว)เชื่อมต่อไปยัง Pin 22 ของคอนโทรลเลอร์

     

     

     

    การปรับแต่งปุ่ม Push Button
    สามารถปรับแต่งได้เช่นเดียวกันกับ วีธีปรับแต่งรีเลย์

     

     

     

    การปรับแต่ง Terminal Screw หรือ Terminal Block
    Terminal Screw หรือ Terminal Block ไม่มีการเชื่อมต่อใดๆ สามารถเลือกเชื่อมต่อใช้งานได้ตามความต้องการ

    นอกจากนี้เพื่อลดขั้นตอนในการเดินสายไฟที่ใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำหรับอุปกรณ์ภายนอกที่เชื่อมต่อผ่านสกูเทอร์มินอล สามารถบัดกรีจั้มเพื่อเชื่อมต่อแหล่งจ่ายพลังงานไปยังเทอร์มินอลได้อย่างง่ายดาย

     

    ตัวอย่าง การเชื่อมต่อ Pin Ref. 27 (DIO/ADC/PWM) และแหล่งจ่ายพลังงาน (VSYS & GND) ไปยัง terminal screw เพื่อใช้งานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ DIO/ADC/PWM ภายนอก

     

     

    ตัวอย่าง การเชื่อมต่อ i2c และแหล่งจ่ายพลังงาน (VSYS & GND) ไปยัง terminal screw เพื่อใช้งานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ i2c ภายนอก

    ปกติแล้วจะต้องใช้สายทั้งหมด 4 เส้น บนบอร์ด i-mation จะเห็นได้ว่ามีการใช้สายในการเชื่อมต่อจริงเพียง 2 เส้นเท่านั้น ซึ่งแหล่งพลังงานสามารถบัดกรีเพื่อจั๊มใช้งานได้ง่ายผ่านจุดจั๊มเปอร์ที่มีอยู่ (วงกลมสีแดง) ช่วยลดการใช้สาย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

     

     

     

    ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งจ่ายพลังงาน

     

    การใช้พลังงาน (Power Consumption)
    เมื่อบอร์ดปกติทำงานสูงสุด กระแสไฟฟ้าที่ใช้สุงสุดคือ 300mA โมดูล Power Supply HLK-5M05 จ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ 5W หรือ 1000mA นั้นหมายความว่า หากมีวงจรที่ประกอบเพิ่มเติมหรือปัจจัยการโปรแกรมที่ใช้พลังงานมากขึ้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือกระแสที่ใช้จะต้องไม่เกิน 700mA

    หากต้องการแหล่งพลังงานที่มากกว่านี้โปรดอ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อ ” DC Power Source “

     

    พินแหล่งจ่ายพลังงาน

    • VBUS: อินพุต USB แรงดันไฟฟ้า 5V
    • VSYS: หลังจากแยกไดโอดแล้ว แรงดันไฟฟ้าภายนอกที่สามารถอินพุตได้จะต้องไม่เกิน 6.5V หรือให้แรงดันไฟ USB ภายนอกประมาณ 5.0-0.3=4.7V. หรือตามสเปคของคอลโทรลเลอร์ที่ใช้ โปรดตรวจสอบ data sheet จากผู้ผลิต
    • 3V3_EN: พินเปิดใช้งานชิปพลังงาน
    • 3V3: แรงดันไฟฟ้า 3V3 หลังจากผ่านตัวปรับลดแรงดันไฟฟ้า

     

    ข้อควรระวังในการใช้งานพิน VBUS และ +5Vin (HLK-5M05)

    ในการใช้งานพินที่เกี่ยวข้องกับแรงดันไฟฟ้า 5V อย่างพิน +5Vin และ VBUS ควรระมัดระวังเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบหรืออุปกรณ์ ดังนี้:

    1. ห้ามเชื่อมต่อ +5Vin และ VBUS เข้าด้วยกัน: หากเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งของแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
    2. ควรใช้แหล่งจ่ายไฟเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ของคุณได้รับพลังงานจากแหล่งจ่ายใดแหล่งจ่ายหนึ่ง ไม่ควรใช้ทั้ง VBUS และ +5Vin พร้อมกัน
    3. VBUS ใช้งานได้เฉพาะเมื่อเชื่อมต่อ USB-C: พิน VBUS จะจ่ายไฟได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อกับพอร์ต USB-C
    4. +5Vin ใช้งานได้เฉพาะเมื่อมีการเชื่อมต่อ POWER AC: พิน +5Vin จะใช้ได้เมื่อมีแหล่งจ่ายไฟ AC เชื่อมต่อเข้ากับโมดูล HLK-5M05

    เนื่องจากพินเหล่านี้ไม่อยู่ในระบบจัดการพลังงานอัตโนมัติ ควรระมัดระวังเมื่อใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการจัดการแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม

     

     

    แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ AC Power Source

    ตัวอย่างการต่อ Power-in ด้วยแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC Power Source) ไปยัง i-Mation Pico Dev Board

    สายในตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงการต่อ Line และ Neutral เท่านั้น โปรดเลือกใช้สายที่เหมาะสมกับการใช้งาน

    • การเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC Power Source):
      • ในภาพแสดงการเชื่อมต่อสายไฟ AC สองเส้น (สีน้ำตาลและสีฟ้า โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก.11-2553 สำหรับสายไฟ 1 เฟส) เข้ากับขั้วต่อ Power in ของ i-Mation Pico Dev Board
      • สีน้ำตาลเป็นสาย Live / Line (L)  เชื่อมต่อกับช่องต่อ AC/L
      • สีฟ้าเป็นสาย Neutral (N)  เชื่อมต่อกับช่องต่อ AC/N
    • การเชื่อมต่อฟิวส์ AC:
      • ฟิวส์ AC เชื่อมต่ออยู่ในฝั่งของช่องต่อ AC/L (Live / Line)
      • ฟิวส์นี้มีหน้าที่ป้องกันการลัดวงจรและป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า

     

      • การเลือกสายไฟ
        • บอร์ดใช้โมดูล Hi-Link 5M05 มีกำลังไฟสูงสุด 5 วัตต์ (5V) กินกระแสไฟไม่เกิน 1 แอมป์
        • เลือกสายไฟที่มีฉนวนรองรับแรงดันไฟฟ้า 220V
        • สายไฟควรรองรับกระแสไฟได้มากกว่า 1A เพื่อความปลอดภัย
        • เลือกประเภทของสายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน

     

    [ ! ] ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้งานแหล่งจ่ายไฟ AC
    เพราะอาจมีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับไฟแรงสูงที่บริเวณบอร์ด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 

     

     

     

    แหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC Power Source)

    (ทางเลือกสำหรับนักพัฒนา) ในการต่อ Power-in ด้วยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง

    • สำหรับการจากแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง โซล่าเซลล์ หรือ แบตเตอรี่ ที่แรงดัน 6-28VDC
    • สำหรับการปรับเปลี่ยนใช้งาน Power Adapter 220VAC ที่มีเอาท์พุตแรงดัน 6-28VDC
      (อาจดูเหมือนเป็นการออกแบบที่ซ้ำซ้อน กรณีนี้เราคิดไว้เป็นทางเลือกสำหรับนักพัฒนาเพื่อการปรับแต่งเฉพาะตัว ที่อาจมีเงื่อนไข และเหมาะกับการใช้งานในลักษณะนี้)
    • บอร์ดรองรับการเปลี่ยนจาก Terminal Screw เป็น DC Jack

    การใช้งานนี้เราไม่ได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการสำหรับบอร์ดรุ่นนี้ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย เราซ่อนฟังก์ชั่นการใช้งานแหล่งพลังงานสำหรับไฟฟ้ากระแสตรงนี้ไว้ใต้ โมดูล HLK-5M05 เพื่อบังคับการใช้งานรูปแบบแหล่งจ่ายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

    หากต้องการใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสตรง สามารถทำได้ดังนี้:

    1. ถอด โมดูล HLK-5M05 ออก
    2. เพิ่ม โมดูลแปลงไฟ Buck Converter CN3509 (5V 3A), ฟิวส์ SMD 1206 (P) (3A), และไดโอด Schottky Barrier Diode SS34

    ขั้วบวก ขั้วลบ จะถูกกำหนดเส้นทางไว้ดังนี้
    AC / L  =  +VCC / Vdc 6-28 v
    AC / N  =  GND

    • เฉพาะการใช้งานสกรูเทอร์มินอล จั๊มเปอร์ จุดที่ 4 ดังภาพ เพื่อยืนยันการเปิดใช้งาน
    • DC Jack 2.1x5mm Positive Polarity (ลบนอก บวกใน) สังเกตสัญลักษณ์ใต้บอร์ด

     

     

     

     

     

     

     

    Flawlessness devoid of imagination and creativity
    ความสมบูรณ์แบบ ปราศจากซึ่งจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

     

     

     

     

     

    สินค้าภายในกล่อง

    สินค้าภายในกล่องขึ้นอยู่กับตัวเลือกสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ

    ตัวอย่างการโปรแกรม

     

    โค้ดตัวอย่างควบคุมรีเลย์บน i-Mation – esp32-s3 pico

     

    โค้ดตัวอย่าง Custom push button switch (pull-down) บน i-Mation – esp32-s3 pico

     

    โค้ดตัวอย่าง Buzzer สำหรับ i-Console บน i-Mation – esp32-s3 pico

     

    โค้ดตัวอย่าง OLED Display สำหรับ i-Console บน i-Mation – esp32-s3 pico

     

     

    โค้ดตัวอย่าง RS-485 / Modbus สำหรับ i-Console บน i-Mation – esp32-s3 pico

     

     

     

     


    โค้ดตัวอย่างควบคุมรีเลย์ บน i-Mation – Raspberry Pi Pico W

     

    โค้ดตัวอย่าง Custom push button switch (pull-down) บน i-Mation – Raspberry Pi Pico W

     

    โค้ดตัวอย่าง Buzzer สำหรับ i-Console บน i-Mation – Raspberry Pi Pico W

     

    โค้ดตัวอย่าง OLED Display สำหรับ i-Console บน i-Mation – Raspberry Pi Pico W

     

    โค้ดตัวอย่าง RS-485 / Modbus สำหรับ i-Console บน i-Mation – Raspberry Pi Pico W

     

     

     

     

     

     

    ตัวอย่างโปรเจค

    คำอธิบายวีดีโอสั้น Shorts 0:33 Sec

    0:00 – i-Mation Pico Dev Board – ESP32-S3 with i-Console

    0:04 – แสดงรูปแบบการเชื่อมต่อ

    0:10 – แสดงค่า Real-time จากเซ็นเซอร์

    • แสดงข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์ในแบบเรียลไทม์
      • Digital: AM2302 สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้น (indoor)
      • RS-485 / Modbus:
        • Dust Sensor สำหรับวัดฝุ่นในอากาศ (indoor)
        • Atmospheric Temp & Humidity สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นในบรรยากาศ (outdoor)
        • Wind Speed สำหรับวัดความเร็วลม (outdoor)
        • Wind Direction สำหรับวัดทิศทางลม (outdoor)

    0.13 – แสดงสถานะ Real-time จากรีเลย์

    0.17 – แสดงสถานะการเชื่อมต่อ

     

    การพัฒนาสินค้าของ iMicon System ก้าวสู่ความล้ำหน้าด้วยการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ ESP-WROOM-32 (Xtensa LX6) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์มาอย่างยาวนาน สู่ i-Mation Pico Dev Board รุ่นใหม่ ที่มาพร้อม ESP32-S3 (Xtensa LX7) ที่ทันสมัยกว่าเดิม พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และประสิทธิภาพโดยรวมที่ตอบสนองได้อย่างยอดเยี่ยม!

     

     

    ทริคการปรับแต่ง i-Mation Pico Dev Board ให้สามารถใช้งาน Relay 4 CH ร่วมกับ ESP32-C3 Super Mini

    คำอธิบายวีดีโอสั้น Shorts 0:33 Sec

    0:00 – i-Mation Pico Dev Board – ESP32-S3 with i-Console

    0:04 – แสดงรูปแบบการเชื่อมต่อ

    0:10 – แสดงค่า Real-time จากเซ็นเซอร์

    • แสดงข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์ในแบบเรียลไทม์
      • Digital: AM2302 สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้น (indoor)
      • RS-485 / Modbus:
        • Dust Sensor สำหรับวัดฝุ่นในอากาศ (indoor)
        • Atmospheric Temp & Humidity สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นในบรรยากาศ (outdoor)
        • Wind Speed สำหรับวัดความเร็วลม (outdoor)
        • Wind Direction สำหรับวัดทิศทางลม (outdoor)

    0.13 – แสดงสถานะ Real-time จากรีเลย์

    0.17 – แสดงสถานะการเชื่อมต่อ

     

    การพัฒนาสินค้าของ iMicon System ก้าวสู่ความล้ำหน้าด้วยการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ ESP-WROOM-32 (Xtensa LX6) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์มาอย่างยาวนาน สู่ i-Mation Pico Dev Board รุ่นใหม่ ที่มาพร้อม ESP32-S3 (Xtensa LX7) ที่ทันสมัยกว่าเดิม พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และประสิทธิภาพโดยรวมที่ตอบสนองได้อย่างยอดเยี่ยม!

     

     

    ทริคการปรับแต่ง i-Mation Pico Dev Board ให้สามารถใช้งาน Relay 4 CH ร่วมกับ ESP32-C3 Super Mini

    ⚠️ รุ่นที่ใหม่กว่า