MicroLearner | ESP32-C3 Super Mini
฿790.00 มีค่าส่งเริ่มต้น 45 บาท ค่าจัดส่งเริ่มต้นโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามที่อยู่หรือปริมาณที่ท่านเลือก ระบบจะคำนวณค่าจัดที่แท้จริงในหน้าชำระเงิน
มีสินค้าอยู่ 6
รายละเอียดสินค้า
คำอธิบาย
MicroLearner | เริ่มต้นง่าย แม้ไม่มีพื้นฐาน
หากคุณไม่เคยสัมผัสไมโครคอนโทรลเลอร์มาก่อน MicroLearner คือจุดเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบ! ไม่ต้องต่อสาย ไม่ต้องกลัวพัง เพียงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แล้วเริ่มเขียนโค้ดได้ทันที
แทนที่จะต้องกังวลเรื่องฮาร์ดแวร์ตั้งแต่วันแรก MicroLearner ออกแบบมาเพื่อให้คุณได้โฟกัสกับการเขียนโปรแกรมก่อน เรียนรู้โครงสร้างและแนวคิดของโค้ด พร้อมทดลองใช้งานจริงในซอฟต์แวร์ จากนั้นค่อยก้าวไปสู่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จริงอย่างมั่นใจ
โต้ตอบกับอุปกรณ์จริง เพื่อเรียนรู้การทำงานของฮาร์ดแวร์ ในแบบที่เข้าใจง่ายและเป็นธรรมชาติ
MicroLearner สนับสนุนแนวทาง Reverse Engineering ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุก และไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป!
ขนาดเล็กกะทัดรัด เรียนรู้ได้ทุกที่ 60x43x25mm.
บอร์ดเรียนรู้ MicroLearner – ESP32 C3 Super Mini ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยมาพร้อมกับตัวอย่างการเขียนโปรแกรมที่ครอบคลุมการใช้งานอินเทอร์เฟซต่างๆ ดังนี้:
- การควบคุม Digital (LED On/Off): เรียนรู้การควบคุม LED เปิด-ปิดผ่านการส่งสัญญาณดิจิตอลจากไมโครคอนโทรลเลอร์
- รับค่าจากปุ่มกด (Digital Input): ตัวอย่างโปรแกรมรับค่าจากปุ่มกดเพื่อนำมาประมวลผล
- การใช้งาน Analog (ADC): รองรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์แบบอนาล็อกจากภายนอก และการอ่านค่าผ่าน ADC
- การควบคุม PWM (การหรี่ไฟ): ตัวอย่างการหรี่ไฟด้วย PWM เพื่อควบคุมความสว่างของ LED
- หน้าจอ OLED (I2C): ใช้การสื่อสารผ่าน I2C เพื่อแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอ OLED พร้อมรองรับการเชื่อมต่อ I2C ภายนอก
- UART สำหรับการ Debug: มีพอร์ต UART สำหรับการดีบักข้อมูลและสามารถรีแมป UART ได้ตามความต้องการ
บอร์ดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้อย่างหลากหลาย ทั้งการควบคุมอุปกรณ์ดิจิตอลและอนาล็อก รวมถึงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ผ่านอินเทอร์เฟซมาตรฐานต่างๆ ที่ใช้งานได้จริงในโปรเจ็กต์พัฒนา
MicroLearner | เรียนโค้ดก่อน ต่อสายทีหลัง สนุก ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวพัง!
การกำหนดพิน
LED1 เชื่อมต่อกับ GPIO2 (high/pull-up)
LED2 เชื่อมต่อกับ GPIO1
LED3 เชื่อมต่อกับ GPIO0
ปุ่ม A เชื่อมต่อกับ GPIO6
ปุ่ม B เชื่อมต่อกับ GPIO7
ปุ่ม C เชื่อมต่อกับ GPIO10
Passive Buzzer เชื่อมต่อกับ GPIO3
OLED – SDA เชื่อมต่อกับ GPIO8
OLED – SCL เชื่อมต่อกับ GPIO9
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาด | 20 × 14 × 6 เซนติเมตร |
---|
คู่มือการใช้งาน
ทำไมไฟที่ LED1 ถึงติด?
บอร์ดนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานขาอินพุตและเอาต์พุตต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ในการออกแบบไมโครคอนโทรลเลอร์ มักจะมีบางขาที่ถูกตั้งค่าเป็น pull-up หรือ pull-down ภายใน ซึ่งจะส่งผลให้บางขามีสถานะที่ตายตัวโดยธรรมชาติของวงจร นี่เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในไมโครคอนโทรลเลอร์หลายรุ่น และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้
เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ เราได้กำหนดขา LED1 สำหรับการสังเกตและทดสอบการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ ผู้ใช้งานสามารถเห็นการทำงานจริงของสถานะ pull-up หรือ pull-down ผ่าน LED1 (GPIO2 – ขานี้มีการ pull-up และต้องอยู่ในสถานะ HIGH ระหว่างการบูต เพื่อให้เข้าสู่โหมดปกติ) ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจหลักการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
มันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
การสังเกตสถานการณ์นี้จะเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีสำหรับการเข้าใจการทำงานภายในของไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่จะไม่ขัดขวางการใช้งานในแอปพลิเคชันจริง
เซ็ตสถานะ: หากไฟยังคงติดค้างสามารถเซ็ตสถานะง่ายๆได้ด้วยคำสั่งนี้
int led1 = 2;
voidsetup() {
pinMode(led1, OUTPUT);
digitalWrite(led1, LOW);
}
voidloop() {
}
เริ่มต้นใช้งาน ESP32 C3 Super Mini
ขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลด Arduino IDE
- เรียกดู: https://www.arduino.cc/en/Main/Software
- ดาวน์โหลด IDE สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows/Mac/Linux ของคุณ
ขั้นตอนที่ 2
เสียบบอร์ด ESP32 C3 Super Mini เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณ บอร์ดจะใช้พลังงานจากสาย USB สำหรับตัวอย่างนี้ จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟภายนอก
*โปรดตรวจสอบว่าสาย USB-C สามารถใช้งานถ่ายโอน Data ได้
- เสียบสาย USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณ
- เสียบสาย USB เข้ากับบอร์ด ESP32 C3 Super Mini
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดค่า Arduino IDE สำหรับบอร์ด ESP32 C3 Super Mini
- เริ่ม Arduino IDE
- จากเมนูหลัก เลือก Arduino > Preferences…
- สำหรับ Additional Board Manager URLs ให้เพิ่ม Url นี้ลงไป:
https://dl.espressif.com/dl/package_esp32_index.json
- เลือก Tools > Board > Boards Manager
- พิมพ์ esp32
- จะเห็นรายการสำหรับ esp32 โดย espressif systems
- คลิก install
- คลิก Close
ขั้นตอนที่ 4 เลือกบอร์ดของคุณ
- เลือก Tools > Board : *
- เลือกบอร์ดของคุณ ( ESP32C3 Dev Module )
- เลือก Tools > Port : *
- เลือกพอร์ตที่กำลังต่อใช้งาน (COM_X , /dev/…)
- (ในบางครั้งจำเป็นต้อง กดปุ่ม BOOT ค้างไว้ แล้วกด RESET จึงจะเห็นพอร์ต)
ขั้นตอนที่ 5 เรียกใช้ตัวอย่าง Blink sketch
- เลือก File > Examples > 01. Basics > Blink
Code ควรมีลักษณะดังนี้:
int LED = 8;
void setup() {
pinMode(LED, OUTPUT);
}
void loop() {
digitalWrite(LED, HIGH);
delay(1000);
digitalWrite(LED, LOW);
delay(1000);
}
ขั้นตอนที่ 6 อัปโหลด Code ไปยัง ESP32 C3 Super Mini
- ก่อนอัพโหลดต้อง กดปุ่ม BOOT ค้างไว้ แล้วกด RESET
- คลิกปุ่ม Upload (สัญลักษณ์ลูกศรชี้ขวา บนแถบเครื่องมือ IDE)
ขั้นตอนที่ 7 ตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม
- ตรวจสอบ LED สีน้ำเงิน ออนบอร์ดกะพริบและดับ
- หากโปรแกรมไม่เริ่มทำงาน ให้กดปุ่ม RST 1 ครั้ง เพื่อทำการรีเซ็ต
USB CDC บน Arduino ide หากเลือกเป็น Disable จะไม่สามารถใช้งาน Serial Monitor ได้
เมื่อเปิด USB CDC: พอร์ต USB ของ ESP32-C3 จะทำงานในโหมดพอร์ตอนุกรมเสมือน คุณสามารถเชื่อมต่อไมโครคอนโทรลเลอร์กับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB เพื่อส่งและรับข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรม (เช่น การดีบักหรือการสื่อสารกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์)
เมื่อปิด USB CDC: พอร์ต USB ของ ESP32-C3 จะไม่ถูกกำหนดให้ทำงานเป็นพอร์ตอนุกรมเสมือนอีกต่อไป การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ผ่าน USB จะไม่สามารถทำได้โดยตรง
สินค้าภายในกล่อง
ตัวอย่างการโปรแกรม
Digital LED
int led1 = 2;
int led2 = 1;
int led3 = 0;
voidsetup() {
pinMode(led1, OUTPUT);
pinMode(led2, OUTPUT);
pinMode(led3, OUTPUT);
}
voidloop() {
digitalWrite(led1, HIGH);
digitalWrite(led2, HIGH);
digitalWrite(led3, HIGH);
delay(3000);
digitalWrite(led1, LOW);
digitalWrite(led2, LOW);
digitalWrite(led3, LOW);
delay(3000);
}
PWM LED
const int ledPin = 2; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับพิน LED เป็น GPIO2
const int pwmFrequency = 5000; // ความถี่ของ PWM
const int pwmChannel = 0; // ช่อง PWM
const int pwmResolution = 8; // ความละเอียดของ PWM (8-bit)
void setup() {
// ตั้งค่า LED pin เป็น OUTPUT
pinMode(ledPin, OUTPUT);
// ตั้งค่าช่อง PWM
ledcSetup(pwmChannel, pwmFrequency, pwmResolution);
// เชื่อมต่อพิน LED กับช่อง PWM
ledcAttachPin(ledPin, pwmChannel);
}
void loop() {
// เพิ่มความสว่าง LED จาก 0 ถึง 255
for (int dutyCycle = 0; dutyCycle <= 255; dutyCycle++) { ledcWrite(pwmChannel, dutyCycle); // กํ หนดค่าความกว้างของพัลส์ delay(10); // รอ 10 ms } // ลดความสว่าง LED จาก 255 ถึง 0 for (int dutyCycle = 255; dutyCycle >= 0; dutyCycle--) {
ledcWrite(pwmChannel, dutyCycle); // กํ หนดค่าความกว้างของพัลส์
delay(10); // รอ 10 ms
}
}
Passive Buzzer
#define BUZZER_PIN 3 // กํ หนดหมายเลขขาที่ต่อกับ buzzer
void setup() {
pinMode(BUZZER_PIN, OUTPUT); // กํ หนดขาเป็น Output
}
void loop() {
beep(2000, 100);
beep(4000, 150); //ให้ความถี่ และความยาว milliseconds
delay(2000); // รอสักครู่
}
// Function สํ หรับสร้างเสียง
void beep(int frequency, int duration) {
tone(BUZZER_PIN, frequency, duration); // สร้างเสียงที่ต่อเข้ากับขาของ buzzer
delay(duration); // รอจนกระทบสร้างเสียงเสร็จสิ้น
}
OLED / I2C
หมายเหตุ การเรียนรู้ i2c
ในการใช้งาน I2C กับบอร์ด หากเชื่อมต่ออุปกรณ์ I2C ที่ใช้ address อื่นที่ไม่ใช่ 0x3C ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดเพิ่มเติม สามารถเชื่อมต่อและใช้งานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม หากอุปกรณ์ I2C ที่เชื่อมต่อใช้งานที่ address 0x3C ซึ่งโดยค่าเริ่มต้นอาจมีการเชื่อมต่อกับหน้าจอ OLED บนบอร์ด ผู้ใช้จะต้องทำการปรับการเชื่อมต่อที่ขา SDA และ SCL โดยการตั้งค่า Remove จัมเปอร์ใต้บอร์ดใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของ address I2C ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้งาน
Button
const int buttonPin1 = 6; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บหมายเลขของพินปุ่ม 1
const int buttonPin2 = 7; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บหมายเลขของพินปุ่ม 2
const int buttonPin3 = 10; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บหมายเลขของพินปุ่ม 3
int buttonState1 = 0; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บค่าสถานะปุ่ม 1 (เริ่มต้นที่ 0)
int buttonState2 = 0; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บค่าสถานะปุ่ม 2 (เริ่มต้นที่ 0)
int buttonState3 = 0; // กํ หนดตัวแปรสํ หรับเก็บค่าสถานะปุ่ม 3 (เริ่มต้นที่ 0)
void setup() {
pinMode(buttonPin1, INPUT); // กํ หนดโหมดของพินปุ่ม 1 เป็น INPUT
pinMode(buttonPin2, INPUT); // กํ หนดโหมดของพินปุ่ม 2 เป็น INPUT
pinMode(buttonPin3, INPUT); // กํ หนดโหมดของพินปุ่ม 3 เป็น INPUT
digitalWrite(buttonPin1, LOW); // เปิดใช้งาน pull-down resistor
digitalWrite(buttonPin2, LOW); // เปิดใช้งาน pull-down resistor
digitalWrite(buttonPin3, LOW); // เปิดใช้งาน pull-down resistor
}
void loop() {
Serial.begin(9600);
// อ่านค่าสถานะปุ่ม 1
buttonState1 = digitalRead(buttonPin1);
// ถ้าปุ่มถูกกด (สถานะ HIGH)
if (buttonState1 == HIGH) {
// ให้ทํ สิ่งที่ต้องการทํ
// ตัวอย่าง: ส่งข้อความ "Button 1 pressed" ไปยัง Serial Monitor
Serial.println("Button 1 pressed");
delay(250); // รอเพื่อป้องกันการอ่านค่าซ้ํ
}
// อ่านค่าสถานะปุ่ม 2
buttonState2 = digitalRead(buttonPin2);
// ถ้าปุ่มถูกกด (สถานะ HIGH)
if (buttonState2 == HIGH) {
// ให้ทํ สิ่งที่ต้องการทํ
// ตัวอย่าง: ส่งข้อความ "Button 2 pressed" ไปยัง Serial Monitor
Serial.println("Button 2 pressed");
delay(250); // รอเพื่อป้องกันการอ่านค่าซ้ํ
}
// อ่านค่าสถานะปุ่ม 3
buttonState3 = digitalRead(buttonPin3);
// ถ้าปุ่มถูกกด (สถานะ HIGH)
if (buttonState3 == HIGH) {
// ให้ทํ สิ่งที่ต้องการทํ
// ตัวอย่าง: ส่งข้อความ "Button 3 pressed" ไปยัง Serial Monitor
Serial.println("Button 3 pressed");
delay(250); // รอเพื่อป้องกันการอ่านค่าซ้ํ
}
}
Remap UART
การกำหนดหรือปรับเปลี่ยนขาอินพุตและเอาต์พุตของ UART (Universal Asynchronous Receiver/Transmitter) บนไมโครคอนโทรลเลอร์ไปยังขาอื่นที่ไม่ได้ถูกตั้งค่าเริ่มต้นเพื่อใช้งาน UART เดิม ซึ่งไมโครคอนโทรลเลอร์บางรุ่น เช่น ESP32 มีความสามารถในการรีแมป (remap) ขา UART เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกขา GPIO (General Purpose Input/Output) ที่ต้องการใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
การ Remap UART จะเป็นประโยชน์ในสถานการณ์ที่ขา UART เริ่มต้นถูกใช้งานไปกับอุปกรณ์อื่นหรือไม่สะดวกในการเชื่อมต่อ โดยการรีแมปช่วยให้คุณสามารถกำหนดขา GPIO อื่นให้ทำหน้าที่แทนขา TX (Transmit) และ RX (Receive) ของ UART ได้ตามความต้องการ
void setup() {
// เปิดใช้งาน Serial Monitor ที่ 9600 baud
Serial.begin(9600);
while (!Serial) {
// รอให้ Serial Monitor เปิด
}
// กํ หนด UART1 ให้ใช้ TX = GPIO5, RX = GPIO4 ที่ 9600 baud
Serial1.begin(9600, SERIAL_8N1, 4, 5);
Serial.println("UART Test Start");
}
void loop() {
// ส่งข้อมูล "Hello UART" ไปที่ Serial1 (TX)
Serial1.println("Hello UART");
// ตรวจสอบว่ามีข้อมูลเข้ามาที่ RX ของ Serial1 หรือไม่
if (Serial1.available()) {
String data = Serial1.readString();
// แสดงข้อมูลที่รับมาใน Serial Monitor
Serial.print("Received: ");
Serial.println(data);
}
delay(1000); // หน่วงเวลา 1 วินาที
}
ในการทดสอบ UART บน ESP32-C3 โดยใช้ GPIO4 (RX) และ GPIO5 (TX) การต่อสายจะต้องทำตามขั้นตอนดังนี้:
การเชื่อมต่อสาย
- GPIO5 (TX) เชื่อมต่อกับ GPIO4 (RX):
- สายจากขา TX (GPIO5) ของ ESP32-C3 ต่อเข้ากับขา RX (GPIO4) ของ ESP32-C3
- ในกรณีที่คุณต้องการทดสอบการส่งข้อมูลและรับข้อมูล (loopback) ให้ใช้สายจัมเปอร์เชื่อมต่อจาก TX ไปยัง RX
- ต่อพอร์ต USB ของ ESP32-C3:
- เชื่อมต่อ ESP32-C3 กับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB เพื่อเปิด Serial Monitor และดูข้อมูล
- การทดสอบ Loopback: หากคุณเชื่อมต่อ TX ไปยัง RX ของบอร์ดเดียวกัน (loopback) คุณจะสามารถส่งข้อมูลจาก TX ไปยัง RX โดยตรงและอ่านค่าที่ส่งผ่าน Serial Monitor
- การทดสอบกับอุปกรณ์อื่น: หากคุณต้องการเชื่อมต่อ ESP32-C3 กับอุปกรณ์อื่น เช่น โมดูล UART หรือเซนเซอร์ ให้เชื่อมต่อ TX ของ ESP32 ไปยัง RX ของอุปกรณ์นั้น และ RX ของ ESP32 ไปยัง TX ของอุปกรณ์
สรุป
- ต่อสายจาก GPIO5 (TX) ไปยัง GPIO4 (RX) เพื่อทำการ loopback
- เชื่อมต่อกับ USB เพื่อให้สามารถดูข้อมูลใน Serial Monitor ได้
เมื่อคุณต่อสายเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถอัปโหลดโค้ดที่เราได้พูดถึงไปที่ ESP32-C3 แล้วเปิด Serial Monitor เพื่อดูผลลัพธ์ได้เลย!
ตัวอย่างการเชื่อมต่อภายนอก Analog / ADC with MQ-02 Sensor
int analogPin = 4; //ประกาศตัวแปร analog ขาที่4
int val = 0;
void setup() {
pinMode(ledPin, OUTPUT); // sets the pin as output
Serial.begin(9600);
}
void loop() {
val = analogRead(analogPin); //อ่านค่าสัญญาณ analog
Serial.print("val = "); // พิมพ์ข้อมความ "val = "
Serial.println(val); // พิมพ์ค่าของตัวแปร val
delay(100);
}
หมายเหตุ: ADC บน ESP32 C3 Super Mini
เลี่ยงการใช้ GPIO5 เนื่องจากเป็น ADC2 อาจใช้งาน ADC ได้ไม่ราบรื่น หากมีการใช้พินนี้เป็น ADC จะส่งผล WiFi ถูกบล๊อกการทำงานและไม่สามารถเชื่อมต่อ WiFi ได้ Restrictions for GPIOs