ชุดบอร์ด Micromation Dev Board V3 Lite ESP32 Relay board 4 Channel + RS-485
฿1,656.00 มีค่าส่งเริ่มต้น 45 บาท ค่าจัดส่งเริ่มต้นโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามที่อยู่หรือปริมาณที่ท่านเลือก ระบบจะคำนวณค่าจัดที่แท้จริงในหน้าชำระเงิน
มีสินค้าอยู่ 19
รายละเอียดสินค้า
คำอธิบาย
ชุดบอร์ด Micromation Dev Board V3 Lite ESP32 Relay board 4 Channel
New Micromation Dev Board V3 ‘ Lite
with ESP32 and RS-485 Auto Direction Module
New Micromation Dev Board V3 ‘Lite
บอร์ดพัฒนา ESP32 พร้อมโมดูล RS-485 , OLED , Buzzer
บอร์ดประยุกต์ สำหรับการเขียนโปรแกรมคอนโทรลที่สะดวกสำหรับใช้งานแบบอเนกประสงค์ พร้อมกล่องมาตรฐาน IP54 เหมาะกับการสร้างต้นแบบหรือโครงงานระบบควบคุมอัตโนมัติ, งาน iot ,Port RS-485 สำหรับการสื่อสารผ่านสายระยะไกลกับอุปกรณ์ต่างๆที่มีพอร์ตมาตรฐานเดียวกันได้หลากหลายผ่านโปรโตคอล เช่น Modbus-RTU , แหล่งจ่ายไฟ POWER IN และ POWER ISOLATOR ที่ต่อใช้งานสะดวกด้วย DC Jack มี Dual Buck Convertor สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงกระแสตรงได้ตั้งแต่ 9 – 28 V และ จอแสดงผล OLED Display ขนาด 0.96″ แบบ I2C , Passive Magnetic Buzzer , Custom Switch พร้อม Output Relay 4 Channel และ Screw Terminal สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก
Specifications:
-
Power Join and Power Isolation Support
-
DC powered [ Power in ] DC 9-28V
-
DC powered [ Power isolation ] DC 9-28V
-
DC Jack Power [default] 5.5 x 2.1mm. Positive Porarity
-
Microcontroller Unit : Esp32 devkit v1
-
Maximum power consumption [join power and all relay
in active with Esp32 devkit v1] : ≤2.3W [@12V] -
Port : RS-485 [Auto Direction], Custom Switch
- OLED Display 0.96″ IIC
- Passive Magnetic Buzzer
-
Output : 4 Channel Relay 10A
-
Board Material : FR-4
-
IP54 Enclosure : IMI-PLC-24
-
Dimensions 110 x 96 x 43 mm.
-
Net. wt. 190 g.
Power Join เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน และยังรองรับการใช้งาน Power Isolation
สนันสนุนการแยกแหล่งจ่ายไฟ Opto-Isolator ทั้งไฟบวก และกราวด์ ออกจากกันโดยสมบูรณ์
เมื่อใช้งานร่วมกับแหล่งจ่ายไฟแบบ Isolated จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม
ให้มีความเสถียรของสัญญาณ ป้องกันไฟกระชากที่จะส่งผลต่อส่วนควบคุม
ช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
รีเลย์ SRD-05-VDC-SL-C ทำงานแบบ Active High
เชื่อมต่อกับคอนโทรลเลอร์ไว้ล่วงหน้า
เพียงกำหนดลอจิกดิจิตอล ก็สามารถทำงานได้แล้ว
Micromation Dev Board V3 ‘ Lite มีรีเลย์ทั้งหมด 4 ตัว
รีเลย์ตัวที่ 1-4 มีสกรูเทอร์มินอล สำหรับต่อใช้งาน
Normal open (NO), Common (COM), Normal close (NC)
Common (COM) : ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อร่วมที่ใช้ในทุกสถานการณ์
Normal open (NO) : ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการให้ทำงานเมื่อรีเลย์ทำงาน (active)
Normal close (NC) : ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการให้ทำงานเมื่อรีเลย์ไม่ทำงาน (inactive)
int relay2 = 19;
void setup() {
pinMode(relay2, OUTPUT);
}
void loop() {
digitalWrite(relay2, HIGH);
delay(1000);
digitalWrite(relay2, LOW);
delay(1000);
}
Caution:
Be careful high voltages.
โปรดระมัดระวังการสัมผัสตัวบอร์ดเป็นอย่างมากเมื่อต่อใช้งานรีเลย์กับแหล่งจ่ายไฟแรงดันที่สูงขึ้น
จอแสดงผลขนาดเล็กที่เพียงพอต่อการรับรู้ และประหยัดพลังงาน
สามารถพลิกกลับเพื่อปรับมุมมอง เรื่องเล็กๆ ที่มีประโยชน์จริงในการใช้งาน
การสลับขั้วแหล่งจ่ายไฟ [สามารถตั้งค่า ตำแหน่งใต้จอ]
ใช้ในกรณีจอทดแทนที่มีขั้วแหล่งจ่ายไฟมีความแตกต่างกันในการออกแบบที่ของต่างผู้ผลิต
โดยกำหนดว่า จะส่งออก ไฟบวก หรือ ไฟลบ ไปยัง Px เพิ่มเติม
PASSIVE MAGNETIC BUZZER
ออดขนาดเล็กที่ไม่มีออสซิลเลเตอร์ภายใน โทนเสียงจะถูกสร้างขึ้นโดย Magnetic Buzzer
โมดูล Buzzer นี้ เชื่อมต่ออยู่กับ GPIO5 หรือ D5 ของคอนโทลเลอร์
#define BUZZER_PIN 5
void setup() {
pinMode(BUZZER_PIN, OUTPUT);
}
void loop() {
beep(2000, 100);
beep(4000, 150);
delay(3000);
}
void beep(int frequency, int duration) {
tone(BUZZER_PIN, frequency, duration);
delay(duration);
}
CUSTOM SWITCH
Push Button [Pull-Down]
ปุ่มกดที่สามารถกำหนดการใช้งานเอง
นี้ เชื่อมต่ออยู่กับ GPIO4 หรือ D4 ของคอนโทลเลอร์
const int buttonPin = 4;
const int ralay = 23;
int buttonState = 0;
void setup() {
Serial.begin(9600);
pinMode(ralay, OUTPUT);
pinMode(buttonPin, INPUT);
}
void loop() {
buttonState = digitalRead(buttonPin);
if (buttonState == HIGH) {
digitalWrite(ralay, HIGH);
Serial.println("on");
} else {
digitalWrite(ralay, LOW);
Serial.println("off");
}
}
RS-485 Communication
Add on RS-485 Module [Auto Direction]
พอร์ตสื่อสารระยะไกล ที่สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายอุปกรณ์
เช่น การเชื่อมผ่านโปรโตคอลระดับอุตสาหกรรมยอดนิยมอย่าง Modbus-RTU
กับเซ็นเซอร์ระดับมืออาชีพมากมายที่มีให้เลือกใช้
Module RS-485 เชื่อมต่อกับ UART2 [ TX2 , RX2 ]
สามารถใช้โค้ดตัวอย่างอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อเชื่อมต่อ Micromation Dev Board V2 ‘Lite ได้ทันที
แรงดันไฟฟ้าที่ POWER OUT จะเชื่อมต่อ และสัมพันธ์กันกับ POWER IN
POWER OUT ช่วยให้สะดวกสำหรับใช้สำหรับจ่ายไฟให้อุปกรณ์ ‘485
โปรดแน่ใจว่าอุปกรณ์ภายนอกรองรับแรงดันนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก | 200 กรัม |
---|---|
ขนาด | 20 × 14 × 6 เซนติเมตร |
ประเภทสินค้า | บอร์ดพัฒนา |
ผู้ผลิต | iMicon System |
ผู้จัดจำหน่าย | ร้านอิมิคอนซิสเท็ม 14/44 ถ.ลำพูน-ป่าซาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน |
วิธีใช้ | พัฒนาระบบอัตโนมัติ |
ข้อควรระวัง | โปรดตรวจสอบความถูกต้องในการต่อใช้งาน |
ราคา | ระบุ ณ จุดขาย |
ขนาดของสินค้า | 110 x 96 x 43 mm. |
คู่มือการใช้งาน
Attention:
Do not connect the power from USB port
and Power in at the same time
โปรดอย่าต่อแหล่งจ่ายไฟ POWER IN และ USB ในเวลาเดียวกัน
Caution:
Be careful high voltages.
โปรดระมัดระวังการสัมผัสตัวบอร์ดเป็นอย่างมาก
เมื่อต่อใช้งานรีเลย์กับแหล่งจ่ายไฟแรงดันที่สูงขึ้น
รูปแบบการต่อใช้แหล่งจ่ายไฟที่ ถูกต้อง และ ปลอดภัย ต่ออุปกรณ์
รูปแบบการต่อใช้แหล่งจ่ายไฟที่ทำให้อุปกรณ์เสียหาย
สินค้าภายในกล่อง
1. Micromation Dev Board V3 Lite
2. ESP32 DEVKIT V1 / NodeMCU
3. IMI-PLC24 Din Rail/Wall Mount Enclosure with Nut
4. Micromation Dev Board V3 Lite Documentation
ตัวอย่างการโปรแกรม
ขอแนะนำ
Micromation Dev Board V3 – Library
ไลบรารีนี้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งาน micromation dev board ได้ง่ายขึ้น
ด้วยโมดูลรีเลย์ ESP32, ระบบจัดการ wifi ในตัว,
หน้าเว็บ HTML ที่กำหนดเอง รองรับหน้าจอ OLED 3 หน้า
สวิตช์แบบกำหนดเอง, รีเลย์, RS485, buzzer
More info : https://github.com/imiconsystem/MicromationDevboardV3
ตัวอย่างโปรเจค
โปรเจค Weather Station Monitoring and Control | Micromation Dev Board V3
โปรเจคนี้สามารถใช้งานร่วมกับ Micromation Dev Board V3 Lite ได้เป็นอย่างดี
โปรแกรมคำสั่งนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออ่านค่าจากเซนเซอร์ rs485/modbus ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์ทั้งหมด 3 ตัว ซึ่งใช้สำหรับการวัดอุณหภูมิ/ความชื้น ความเร็วลม และทิศทางลม นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมรีเลย์ทั้งหมด 4 ช่องและ Buzzer ที่ใช้ส่งเสียงเมื่อมีการสั่งงานรีเลย์ ผ่านทาง WiFi STA (intranet) และสามารถแสดงผลและรองรับการควบคุมผ่านเว็บบราวเซอร์แบบ Real Time
ในกรณีที่คุณต้องการตั้งค่า RS-485 Modbus Sensor ตามที่ได้ระบุไว้ คุณจะต้องกำหนดค่าให้ตรงกับค่าที่ระบุดังนี้:
Sensor ID1: BGT-WSD2 humidity & temperature
- Baud Rate: 9600
Sensor ID2: RS FS wind speed
- Baud Rate: 9600
Sensor ID3: RS FX wind direction
- Baud Rate: 4800
นอกจากนี้คุณยังต้องระบุค่า ID ของเซ็นเซอร์แต่ละตัวให้ถูกต้องด้วย เพราะ RS-485 Modbus ใช้ ID เพื่อระบุตัวเซ็นเซอร์ในการสื่อสาร
หลังจากตั้งค่า RS-485 Modbus Sensor ให้ถูกต้องแล้ว คุณจะสามารถเรียกดูข้อมูลจากเซ็นเซอร์แต่ละตัวผ่านโปรแกรมของคุณได้ โดยใช้ Baud Rate ที่ตรงกับการตั้งค่าของแต่ละเซ็นเซอร์ และ ID ที่คุณตั้งค่าไว้เพื่อระบุตัวเซ็นเซอร์ที่ต้องการสื่อสาร
เมื่อคุณติดตั้งโปรแกรมแล้วและต้องการเรียกดูไอพีที่ใช้ในการเข้าถึงผ่าน Serial Monitor คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
- เปิด Serial Monitor: เมื่อ Micromation Dev Board V3 ของคุณถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต Serial (หรือ USB-to-Serial) ให้เปิด Serial Monitor ในซอฟต์แวร์ Arduino IDE หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อ Serial Monitor.
- ตั้งค่า Serial Monitor: คุณจะต้องตั้งค่า Serial Monitor ให้เป็นคอนฟิกูเรชันที่ถูกต้อง เช่น ความเร็ว (Baud Rate) เป็นค่าที่ตรงกับการตั้งค่าในโปรแกรมของคุณ และให้แน่ใจว่าการส่งข้อมูลออกแสดงผลเป็น “Newline” หรือ “Both NL & CR” (ขึ้นอยู่กับวิธีการเขียนข้อมูลในโปรแกรมของคุณ)
- อ่านไอพีที่แสดงผล: เมื่อคุณเริ่มต้นรันโปรแกรมบน Micromation Dev Board V3 และข้อมูลไอพีที่ใช้ในการเข้าถึงเครื่องจะถูกส่งไปยัง Serial Monitor คุณจะเห็นข้อมูลเหล่านี้ปรากฏบน Serial Monitor แสดงไอพีที่สามารถใช้ในการเข้าถึงเครื่องผ่านเครือข่าย WiFi STA (intranet)
- นำไอพีไปใช้: เมื่อคุณเห็นไอพีที่แสดงผลบน Serial Monitor คุณสามารถนำไปใช้เพื่อเข้าถึง Micromation Dev Board V3 บนเครือข่าย WiFi STA (intranet) โดยใช้ไอพีที่แสดงผลในการเชื่อมต่อผ่านเว็บบราวเซอร์